ไซเดอร์
ไซเดอร์ (อังกฤษ: cider) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หมักทำจากน้ำแอปเปิลไม่กรอง ปริมาณแอลกอฮอล์ในไซเดอร์แปรผันตั้งแต่ 1.2% แอลกอฮอล์โดยปริมาตรถึง 8.5% หรือกว่านั้นในไซเดอร์อังกฤษ และ 3.5% ถึง 12% ในไซเดอร์ภาคพื้นทวีป[1] ตามกฎหมายสหราชอาณาจักร ไซเดอร์ต้องมีน้ำแอปเปิล (สดหรือจากเข้มข้น) อย่างน้อย 35%[2] แม้กลุ่มรณรงค์เพื่อเอลจริง (Campaign for Real Ale, CAMRA) ระบุว่า "ไซเดร์จริง" ต้องมีน้ำแอปเปิลสดอย่างน้อย 90%[3] ในสหรัฐอเมริกา มีขั้นต่ำ 50%[4] ในประเทศฝรั่งเศส ไซเดอร์ต้องทำจากแอปเปิลอย่างเดียว[5] ในปี 2557 การศึกษาโดย เดอะเดลีเทเลกราฟ พบว่า ไซเดอร์ตลาดหนึ่งไพนต์ (บัลเมอส์) มีน้ำตาลห้าช้อนชา (20.5 ก.) เกือบเท่าการแนะนำปริมาณบริโภคน้ำตาลเติม (added sugar) ต่อวันของผู้ใหญ่ขององค์การอนามัยโลก และเป็น 5–10 ของปริมาณน้ำตาลในลาเกอร์หรือเอล[6]
ในสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของแคนาดา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งอภิปรายในบทความนี้โดยทั่วไปเรียก "ไซเดอร์แรง" (hard cider) ส่วน "ไซเดอร์" โดยทั่วไปหมายถึง น้ำแอปเปิลไม่กรองไม่มีแอลกอฮอล์ซึ่งมีรสหวาน ๆ เปรี้ยว ๆ ต่างออกไป การเติมน้ำตาลหรือผลไม้เพิ่มก่อนการหมักครั้งที่สองเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มผลลัพธ์ เครื่องดื่มแอปเปิลซึ่งมีแอลกอฮอล์โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า (>10%) คือ "ไวน์แอปเปิล"[7][8]
สามารถน้ำแอปเปิลหลายชนิดทำไซเดอร์ แต่พันธุ์ปลูกเฉพาะที่ปลูกเพื่อทำไซเดอร์เรียก แอปเปิลไซเดอร์[9] ไซเดอร์ได้รับความนิยมในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวสต์มิดแลนส์ เซาท์เวสต์อิงแลนด์และอีสต์แองเกลีย และมีอยู่ในมุมของประเทศ สหราชอาณาจักรมีการบริโภคต่อหัวสูงสุด และยังเป็นที่ตั้งของบริษัทผู้ผลิตไซเดอร์ใหญ่ ๆ ของโลก[10] ซึ่งรวมเอช. พี. บัลเมอร์ บริษัทใหญ่สุด[11] ในปี 2549 สหราชอาณาจักรผลิตไซเดอร์ 600 ล้านลิตรต่อปี[12]
เครื่องดื่มดังกล่าวยังเป็นที่นิยมและเป็นของพื้นเมืองในประเทศยุโรปอื่นอย่างประเทศไอร์แลนด์ ฝรั่งเศสตอนเหนือ (โดยเฉพาะเบรอตาญและนอร์ม็องดี) สเปนตอนเหนือ และบาสก์คันทรี (Basque Country) ยุโรปกลางยังมีไซเดอร์ประเภทของตัวโดยเฉพาะ ชาวเยอรมันในไรน์แลนด์-พาลาทิเนตและฮัสเซอ (ฟรังค์ฟุร์ทอัมไมน์) ดื่ม เช่นเดียวกับประเทศโปแลนด์ ประเทศผู้ผลิตแอปเปิลใหญ่สุดของทวีปยุโรป
ประเทศอาร์เจนตินายังเป็นประเทศผู้ผลิตและดื่มไซเดอร์ โดยเฉพาะจังหวัดเรียวเนโกรและเมนโดซา ประเทศออสเตรเลียยังผลิตไซเดอร์ โดยเฉพาะเกาะแทสเมเนีย ซึ่งมีประเพณีปลูกแอปเปิลอย่างยาวนาน
ผลิตภัณฑ์คล้ายกันซึ่งทำจากน้ำแพร์ เรียก เพอร์รี (perry) หรือบ้างเรียก ไซเดอร์แพร์ แม้บางคนไม่ยอมรับการใช้คำนี้[13] บางองค์การ (อย่าง CAMRA) แย้งว่าคำว่า "ไซเดอร์แพร์" ทำให้ทั้งไซเดอร์และเพอร์รีเสียหาย[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Martin Dworkin, Stanley Falkow (2006). The Prokaryotes: Proteobacteria: alpha and beta subclasses. Springer. p. 169. ISBN 9780387254951. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
- ↑ "Consider cider". The Guardian. 9 August 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
- ↑ 3.0 3.1 Paul Gallagher (25 November 2012). "Pear cider boom angers purists". The Independent. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
- ↑ Badeker, Andy (13 November 2002). "Crush on cider". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
- ↑ Blenkinsop, Philip (20 December 2012). "Insight: Cider, the golden apple of brewers' eyes". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
- ↑ Malnick, Edward (29 March 2014). "Hidden levels of sugar in alcohol revealed". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อTax
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBrown
- ↑ Lea, Andrew. "The Science of Cidermaking Part 1 - Introduction". สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "National Association of Cider Makers". สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- ↑ Bowers, Simon (2006-06-26). "Bulmers to take on Magners in a cider decider". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2006-06-20.
- ↑ "Interesting Facts". National Association of Cider Makers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 24 February 2009.
- ↑ Huddleston, Nigel (2008-04-24). "Pear Perception". Morning Advertiser. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 1 May 2009.
อ้างอิง
[แก้]- Cider ที่เว็บไซต์ Curlie