ข้ามไปเนื้อหา

การถ่ายภาพเคอร์เลียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายเคอร์เลียนของเหรียญสองอัน

การถ่ายภาพเคอร์เลียน (Kirlian photography) คือ ชุดของเทคนิคการถ่ายภาพที่ใช้ในการจับภาพของปรากฏการณ์โคโรนา หรือ การปล่อยประจุแบบโคโรน่าทางไฟฟ้า มันเป็นชื่อนามสกุลคำหลังของนาย เซมยอน เคอร์เลียน (Semyon Kirlian) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ค้นพบวิธีการนี้โดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1939 โดยเขาพบว่าถ้าวัตถุที่วางอยู่บนแผ่นเพลตสำหรับถ่ายภาพถูกเชื่อมต่อกับแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้าแรงสูง, ภาพของวัตถุจะถูกถ่ายภาพออกมาได้บนแผ่นเพลตสำหรับถ่ายภาพ [1] เป็นเทคนิควิธีการที่รู้จักกันหลากหลายลักษณะต่าง ๆ กันมากมายที่มีชื่อเรียกกัน เช่น "ภาพถ่ายทางไฟฟ้า" (electrography), [2] "เทคนิคการถ่ายภาพด้วยไฟฟ้า" (electrophotography), [3] "เทคนิคการถ่ายภาพการปล่อยประจุแบบโคโรน่า" (corona discharge photography) (CDP), [4] "การถ่ายภาพทางไฟฟ้าชีวะ" (bioelectrography), [5] "การสร้างภาพการปล่อยประจุก๊าซ" (gas discharge visualization) (GDV), [6] "การสร้างภาพทางไฟฟ้าเชิงแสง" (electrophotonic imaging) (EPI), [7] และ, ในวรรณกรรมรัสเซีย, "ภาพถ่ายเคอร์เลียน" เป็นต้น

การถ่ายภาพเคอร์เลียน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประเด็นหัวข้อเรื่องของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์กระแสหลัก, การวิจัยทางด้านปรจิตวิทยา (parapsychology) (ตามความรู้สึกของคนไทยเรา มันมักจะหมายถึงเรื่อง "พลังจิต") และทางด้านศิลปะ

ภาพรวม

[แก้]
การเตรียมการถ่ายภาพเคอร์เลียนแบบส่องผ่าน
ภาพถ่ายเคอร์เลียนของนิ้วมือ
ภาพถ่ายเคอร์เลียนเหรียญสองเหรียญ
ภาพถ่ายเคอร์เลียนของใบเคอร์เลียส

การถ่ายภาพเคอร์เลียนเป็นเทคนิคการสร้างภาพถ่ายของวัตถุโดยใช้ไฟฟ้าแรงสูงส่งผ่านแผ่นฟิล์มที่อยู่เหนือแผ่นเหล็กสำหรับการคายประจุและอยู่ติดกับวัตถุที่ถูกถ่ายภาพ กระแสไฟฟ้าแรงสูงจะถูกจ่ายเป็นระยะเวลาสั้นๆไปยังแผ่นเหล็ก ทำให้เกิดภาพที่เกิดจากการปรากฏการณ์โคโรนาระหว่างวัตถุกับแผ่นเหล็กถูกถ่ายทอดลงฟิล์มที่อยู่ระหว่างกลางกลายเป็นภาพถ่ายเคอร์เลียน

โดยปกติ ฟิล์มถ่ายภาพสีจะถูกปรับไว้ให้ได้ภาพที่สมจริงในสภาวะแสงปกติ ปรากฏการณ์โคโรนาจะมีปฏิสัมพันธ์ชั่วขณะกับแต่ละชั้นแผ่นแม่สีของฟิล์มที่แตกต่างกันไป อันจะทำให้สีที่ได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการคายประจุ[4] ทั้งฟิล์มและเทคนิคการถ่ายภาพแบบดิจิตอลล้วนบันทึกภาพจากโฟตอนที่ถูกปล่อยออกมาจากปรากฏการณ์โคโรนา(โปรดดู กลศาสตร์ของปรากฏการณ์โคโร).

ภาพถ่ายจากสิ่งไม่มีชีวิตเช่นเหรียญ กุญแจ หรือใบไม้ สามารถสร้างภาพอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยต่อทางไฟฟ้ากับสายดินลงพื้นดิน ในท่อน้ำเย็นหรือขั้วตรงข้ามของแหล่งไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายให้วัตถุ อันจะทำให้ปรากฏการณ์โคโรนารุนแรงยิ่งขึ้น[8]

การถ่ายภาพเคอร์เลียนไม่จำเป็นต้องใช้กล้องหรือเลนส์เพราะแผ่นรับภาพสัมผัสกับวัตถุโดยตรง จึงสามารถใช้แผ่นตัวนำโปร่งแสงวางคั่นกลางระหว่างวัตถุกับแผ่นเหล็กเพื่อให้สามารถบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูปหรือกล้องวิดิโอได้[9]

นักศิลปะการถ่ายภาพเช่น Robert Buelteman,[10] Ted Hiebert,[11] และ Dick Lane[12] เคยถ่ายภาพเคอร์เลียนเพื่อสร้างภาพถ่ายทางศิลปะของวัตถุหลากหลายชนิด นักถ่ายภาพเคอร์เลียน Mark D. Roberts ผู้ทำงานกับภาพถ่ายเคอร์เลียนมานานกว่า 40 ปี ได้เผยแพร่ชุดผลงานของภาพถ่ายพืชโดยใช้ชื่อว่า "Vita occulta plantarum" หรือ "ความลับแห่งชีวิตของพืช" ซึ่งจัดแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2012 ที่พิพิธภัณฑ์แบ็คเค็นในมินเนทาโพลิส

การวิจัย

[แก้]

การถ่ายภาพเคอร์เลียน ได้ถูกจัดให้เป็นหัวใจหลักในเรื่องของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์, การวิจัยทางด้านจิตศาสตร์ซึ่งมีสาขาเฉพาะทางที่เรียกว่าวิชา "ปรจิตวิทยา" ซึ่งพวกเราคนไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า "พลังจิต" (parapsychology research) และการกล่าวอ้างเกี่ยวกับเรื่องราวของ วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscientific)[13][14] ส่วนใหญ่ของการวิจัยทางด้านนี้ ได้ถูกริเริ่มดำเนินการขึ้นเมื่อราวประมาณกลางศตวรรษที่ 20 ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยอดีตของโลกทางฝ่ายกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ก่อนการสิ้นสุดลงของสงครามเย็น (cold war) และยังไม่ได้ถูกยกระดับขึ้นเพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดของโลกฝ่ายตะวันตก [ต้องการอ้างอิง]

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

[แก้]

จากผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1976 ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพเคอร์เลียนของเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิต (จากปลายนิ้วของมนุษย์) พบว่าส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงในความยาวของลำแสงของการปล่อยแบบโคโรนา, ความหนาแน่น, ความโค้งงอ และ สี สามารถถูกพิจารณาได้โดยสภาพความชื้นบนพื้นผิวและภายในของเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่เหล่านั้น[15] นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่นอกเหนือจากในสหรัฐอเมริกา ต่างก็ได้ดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

คอนสแตนติน โครอทคอฟ (Konstantin Korotkov) ได้พัฒนาเทคนิคคล้ายกับการถ่ายภาพเคอร์เลียน เรียกว่า "การสร้างภาพการปล่อยประจุของก๊าซ" (gas discharge visualization) (GDV) [16][17][18] ระบบกล้องโครอทคอฟ GDV (Korotkov's GDV camera system) ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะบันทึกข้อมูลโดยตรง, เพื่อทำการประมวลผลและแปลความหมายของภาพ GDV ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ของโครอทคอฟ ได้โฆษณาส่งเสริมอุปกรณ์และการวิจัยของเขาในบริบททางการแพทย์ [19][20] อิซาเบลลา ไชสิเอลสกา (Izabela Ciesielska) แห่งสถาบันสถาปัตยกรรมสิ่งทอในประเทศโปแลนด์ ได้ใช้กล้องโครอทคอฟ GDV เพื่อประเมินผลกระทบของการสัมผัสของมนุษย์กับสิ่งทอต่าง ๆ เกี่ยวกับปัจจัยทางชีวภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต, ตลอดจนถึงภาพถ่ายการปล่อยประจุแบบโคโรน่า

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Julie McCarron-Benson in Skeptical - a Handbook of Pseudoscience and the Paranormal, ed Donald Laycock, David Vernon, Colin Groves, Simon Brown, Imagecraft, Canberra, 1989, ISBN 0-7316-5794-2, p11
  2. Konikiewicz, Leonard W. (1978). Introduction to electrography: A handbook for prospective researchers of the Kirlian effect in biomedicine. Leonard's Associates.
  3. Lane, Earle (1975). Electrophotography. And/Or Press (San Francisco).
  4. 4.0 4.1 Boyers, David G. & Tiller, William A. (1973). "Corona discharge photography". Journal of Applied Physics. 44 (7): 3102–3112. Bibcode:1973JAP....44.3102B. doi:10.1063/1.1662715.
  5. Konikiewicz, Leonard W. and Griff, Leonard C. (1984). Bioelectrography, a new method for detecting cancer and monitoring body physiology. Leonard Associates Press (Harrisburg, PA).{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Bankovskii, N. G.; Korotkov, K. G.; Petrov, N. N. (Apr 1986). "Physical processes of image formation during gas-discharge visualization (the Kirlian effect) (Review)". Radiotekhnika i Elektronika. 31: 625–643.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Wisneski, Leonard A. and Anderson, Lucy (2010). The Scientific Basis of Integrative Medicine. ISBN 978-1-4200-8290-6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Iovine, John (June 2000). "Kirlian Photography, Part Deux". Poptronics (16): 20.
  9. Iovine, John (May 2000). "Kirlian Photography: Part 1". Poptronics (15): 15.
  10. "Photographer Robert Buelteman Shocks Flowers With 80,000 Volts Of Electricity". Huffington Post. 23 July 2012. สืบค้นเมื่อ 22 August 2012.
  11. Blennerhassett, Patrick (9 March 2009). "Electrifying photography". Victoria News.
  12. Puente, Veronica (9 March 2009). "Photographer Dick Lane gets really charged up about his work". Fort Worth Star-Telegram.
  13. Stenger, Victor J. (1999). "Bioenergetic Fields". The Scientific Review of Alternative Medicine. 3 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03.
  14. Skrabanek, P. (1988). "Paranormal Health Claims". Cellular and Molecular Life Sciences. 44 (4): 303–309. doi:10.1007/bf01961267. PMID 2834214. S2CID 29310075.
  15. Pehek, John O.; Kyler, Harry J. & Faust, David L. (15 October 1976). "Image Modulatic Corona Discharge Photography". Science. 194 (4262): 263–270. Bibcode:1976Sci...194..263P. doi:10.1126/science.968480. PMID 968480.
  16. Korotkov K.G., Krizhanovsky E.V. et al. (2004) The Dynamic of the Gas Discharge around Drops of Liquids. In book: Measuring Energy Fields: State of the Science, Backbone Publ.Co., Fair Lawn, USA, pp. 103–123.
  17. Korotkov K., Korotkin D. (2001) Concentration Dependence of Gas Discharge around Drops of Inorganic Electrolytes, Journal of Applied Physics, 89, 9, pp. 4732–4737.
  18. Korotkov K. G., Kaariainen P. (1998) GDV Applied for the Study of a Physical Stress in Sportsmens, Journal of Pathophysiology, Vol. 5., p. 53, Saint Petersburg.
  19. Katorgin, V. S., Meizerov, E. E. (2000) Actual Questions GDV in Medical Activity, Congress Traditional Medicine, Federal Scientific Clinical and Experimental Center of Traditional Methods of Treatment and Diagnosis, Ministry of Health, pp 452–456, Elista, Moscow, Russia.
  20. Korotkov, Konstantin. "EPC/GDV CAMERA by Dr. Korotkov". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-16. สืบค้นเมื่อ 27 August 2012. GDV CAMERA by Dr. Korotkov provides non-invasive, painless and almost immediate evaluation which can highlight potential health abnormalities prior to even the earliest symptoms of an underlying condition, and suggests courses of action

อ่านต่อ

[แก้]
  • Becker, Robert and Selden, Gary, The Body Electric:Electromagnetism and the Foundation of Life, (Quill/Williams Morrow, 1985)
  • Krippner, S. and Rubin, D., Galaxies of Life, (Gordon and Breach, 1973)
  • Ostrander, S. and Schroeder, L., Psi Discoveries Behind the Iron Curtain, (Prentice-Hall 1970)
  • Iovine, John Kirlian Photography - A Hands on Guide , (McGraw-Hill 1993)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Photography