จักรพรรดิโคเร
จักรพรรดิโคเร 孝霊天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 290 – 215 ปีก่อน ค.ศ. (ตามธรรมเนียม)[1] | ||||
ก่อนหน้า | โคอัง | ||||
ถัดไป | โคเง็ง | ||||
พระราชสมภพ | 342 ปีก่อน ค.ศ.[2] | ||||
สวรรคต | 215 ปีก่อน ค.ศ. (127 พรรษา) | ||||
ฝังพระศพ | คาตาโอกะ โนะ อูมาซากะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 片丘馬坂陵; โรมาจิ: Kataoka no Umasaka no misasagi; โอจิ) | ||||
คู่อภิเษก | คูวาชิ-ฮิเมะ | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น ๆ... | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโคอัง | ||||
พระราชมารดา | โอชิ-ฮิเมะ | ||||
ศาสนา | ชินโต |
จักรพรรดิโคเร (ญี่ปุ่น: 孝霊天皇; โรมาจิ: Kōrei-tennō) มีอีกพระนามแล้ว โอยามาโตะเนโกฮิโกะฟูโตนิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 大倭根子日子賦斗邇命; โรมาจิ: Ōyamatonekohikofutoni no Mikoto) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นในตำนานองค์ที่ 7 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์[3][4] มีข้อมูลเกี่ยวกับจักรพรรดิองค์น้อยมากเนื่องจากขาดเอกสารสำหรับการตรวจสอบและศึกษาเพิ่มเติม ทำให้นักประวัติศาสตร์รู้จักพระองค์ในฐานะ "จักรพรรดิในตำนาน" เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องการมีตัวตน ในโคจิกิไม่มีข้อมุลใดเลยนอกจากพระนามและพระราชพงศาวลี มีการอ้างว่ารัชสมัยของโคเรเริ่มต้นใน 290 ปีก่อน ค.ศ. หลังพระองค์สวรรคตใน 215 ปีก่อน ค.ศ. พระราชโอรสองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป[5][6] ตามธรรมเนียมยอมรับโคเรเป็นจักรพรรดิองค์แรกในยุคยาโยอิ ซึ่งตั้งชื่อตามชาวยาโยอิที่อพยพจากทวีปเอเชียไปยังหมู่เกาะญี่ปุ่น
รายงานจากตำนาน
[แก้]ในโคจิกิและนิฮงโชกิบันทึกแค่พระนามและพระราชพงศาวลีของพระองค์ โคเรเสด็จพระราชสมภพใน 342 ปีก่อน ค.ศ. และเชื่อว่าเป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิโคอัง[2] พระราชมารดาเชื่อว่าเป็นโอชิฮิเมะ ธิดาในอาเมตาราชิฮิโตะ-คูนิโอะ-ชิฮิโตะ-โนะ-มิโกโตะ[7] พระนามก่อนขึ้นครองราชย์ของโคเรคือเจ้าชายโอะ-ยามาโตะ-เนโกะ ฮิโกะ-ฟูโตะ-นิ โนะ มิโกโตะ และโคจิกิบันทึกว่าพระองค์ทรงปกครองจากพระราชวังคูโรดะ-โนอิ-โอโดะ-โนะ-มิยะ (ญี่ปุ่น: 黒田廬戸宮; โรมาจิ: Kuroda-noi-odo-no-miya) ที่คูโรดะในบริเวณที่ภายหลังรู้จักกันในชื่อ แคว้นยามาโตะ[4][6] ในบันทึกโคจิกิระบุว่าในช่วงรัชสมัยโคเร องค์จักรพรรดิเข้าพิชิตแคว้นคิบิ[8] โคเรเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกนับตั้งแต่จักรพรรดิจิมมุที่มีพระมเหสีรอง และเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสธิดา 7 พระองค์ร่วมกับจักรพรรดินีที่เป็นพระมเหสีหลัก คือ คูวาชิ-ฮิเมะ มีบันทึกว่าโคเมทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาว ครองราชย์ใน 290 ปีก่อน ค.ศ. จนกระทั่งสวรรคตเมื่อ 215 ปีก่อน ค.ศ. พระราชโอรสองค์โตของพระองค์จึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป
ข้อมูลที่มีอยู่
[แก้]การมีตัวตนของจักรพรรดิ 9 พระองค์แรกยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน เนื่องมาจากมีข้อมูลสำหรับการตรวจยืนยันและศึกษาเพิ่มเติมไม่เพียงพอ[9] ทำให้นักประวัติศาสตร์จัดให้โคเรเป็น "จักรพรรดิในตำนาน" และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 ในจักรพรรดิ 8 พระองค์ที่ไม่มีตำนานเฉพาะที่เชื่อมโยงกับพระองค์[a] พระนามโคเร-เท็นโนได้รับการระบุให้แก่พระองค์หลังสวรรคตโดยคนรุ่นหลัง[11] พระชนมพรรษาเฉพาะที่ 127 พรรษาถือว่าไม่น่าเป็นไปได้เช่นเดียวกันกับจักรพรรดิโคอัง เนื่องจากปัญหาการยืนยันและเรื่องอื่น ๆ
มีความเป็นไปได้ว่า"โคเร"อาจมีพระชนม์ชีพในคริสต์ศตวรรษที่ 1 แทน เช่นเดียวกันกับจักรพรรดิโคโช Louis Frédéric นักประวัติศาสตร์ ระบุแนวคิดนี้ในหนังสือ Japan Encyclopedia ของตนเองว่ามีความ "เป็นไปได้มาก" แต่นั่นยังคคงเป็นข้อถกเถียงในบรรดานักวิจัยคนอื่น ๆ[6][12] จักรพรรดิพระองค์แรกที่นักประวัติศาสตร์ระบุว่าอาจมีตัวตนจริงคือจักรพรรดิซูจิง จักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 10[13]
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
[แก้]- จักรพรรดินี: คูวาชิ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 細媛命; โรมาจิ: Kuwashi-hime) ธิดาในชิกิ โนะ อางาตานูชิ โอโอเมะ
- พระราชโอรส: เจ้าชายโอยามาโตเนโกฮิโกกูนิกูรุ (ญี่ปุ่น: 大日本根子彦国牽尊) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโคเง็ง
- พระมเหสี: คาซูงะ โนะ ชิจิฮายามาวากะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 春日之千千速真若比売; โรมาจิ: Kasuga no Chichihayamawaka-hime)
- พระราชธิดา: เจ้าหญิงชิจิฮายะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 千千速比売命)
- พระมเหสี: ยามาโตะ โนะ คูนิกะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 倭国香媛; โรมาจิ: Yamato no Kunika-hime) ธิดาในวาจิตสึมิ
- พระราชธิดา: ยามาโตโตโตฮิโมโมโซะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 倭迹迹日百襲媛命; โรมาจิ: Yamatototohimomoso-hime) ถูกฝังที่ฮาชิฮากะโคฟุง (มีผู้อ้างว่าพระนางเป็นเชมัน-ราชินี ฮิมิโกะ)
- พระราชโอรส: เจ้าชายโคจิกิ (古事記)
- พระราชโอรส: เจ้าชาย คิบิตสึฮิโกะ-โนะ-มิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 吉備津彦命) บรรพบุรุษของตระกูลคิบิ
- พระราชธิดา: เจ้าหญิงยามาโตโตโตวากายะ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 倭迹迹稚屋姫命)
- พระมเหสี: ฮาเอโรโกะ (ญี่ปุ่น: 絙某弟; โรมาจิ: Haeirodo) พี่/น้องสาวของยามาโตะ โนะ คูนิกาฮิเมะ
- พระราชโอรส: เจ้าชายฮิโกซาชิมะ (ญี่ปุ่น: 彦狭島命)
- พระราชโอรส: วากาตาเกฮิโกะ (ญี่ปุ่น: 稚武彦命; โรมาจิ: Wakatakehiko) บรรพบุรุษของตระกูลคิบิ
- พระมเหสี: มาชิตะ-ฮิเมะ (真舌媛) ธิดาในโทชิฮิโกะ โอฮิฮิโกะ
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ May 8, 2019.
- ↑ 2.0 2.1 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
- ↑ "孝霊天皇 (7)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ May 15, 2019.
- ↑ 4.0 4.1 Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. p. 248 & 252. ISBN 9780520034600.
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. 30 & 418.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Nussbaum, Louis-Frédéric (2002). Japan Encyclopedia. Harvard University Press. p. 561. ISBN 9780674017535.
- ↑ Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. Columbia University Press. p. 90. ISBN 9780231049405.
- ↑ Chamberlain, Basil. The Kojiki. Read before the Asiatic Society of Japan on April 12, May 10, and June 21, 1882, reprinted in 1919. p. 196.
- ↑ Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ May 15, 2019.
- ↑ Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 2. The Japan Society London. pp. 111, 146–147. ISBN 9780524053478.
- ↑ Brinkley, Frank (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the end of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. p. 21.
Posthumous names for the earthly Mikados were invented in the reign of Emperor Kanmu (782–805), i.e., after the date of the compilation of the Records and the Chronicles.
- ↑ Miller, R. A. (2003). "Journal of Asian History". Journal of Asian History. 37 (2): 212–214. JSTOR 41933346.
Review of Japan Encyclopedia
- ↑ Yoshida, Reiji. (March 27, 2007). "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl". The Japan Times Online. Japan Times. สืบค้นเมื่อ May 16, 2019.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Chamberlain, Basil Hall. (1920). The Kojiki. Read before the Asiatic Society of Japan on April 12, May 10, and June 21, 1882; reprinted, May, 1919. OCLC 1882339
- Nussbaum, Louis-Frédéric and Käthe Roth. (2005). Japan encyclopedia. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5; OCLC 58053128
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโคเร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโคอัง | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น (291 ปีก่อนค.ศ. - 215 ปีก่อน ค.ศ.) |
จักรพรรดิโคเง็ง |