ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโคนิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิโคนิง
光仁天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 770–781
ราชาภิเษก23 ตุลาคม ค.ศ. 770
ก่อนหน้าโชโตกุ
ถัดไปคัมมุ
ประสูติ18 กรกฎาคม ค.ศ. 708
ชิรากาเบะ (白壁)
สวรรคต11 มกราคม ค.ศ. 782(782-01-11) (73 ปี)
เฮโจเกียว (นาระ)
ฝังพระศพทาฮาระ โนะ ฮิงาชิ โนะ มิซาซางิ (田原東陵; นาระ)
คู่อภิเษกอิโนเอะ
พระราชบุตร
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิโคนิง (光仁天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
อาเม็ตสึมูเนะ-ทากัตสึงิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (天宗高紹天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาเจ้าชายชิกิ
พระราชมารดาคิ โนะ โทจิฮิเมะ

จักรพรรดิโคนิง (ญี่ปุ่น: 光仁天皇โรมาจิKōnin-tennō; 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 708 – 11 มกราคม ค.ศ. 782) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 49[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2] รัชสมัยของโคนิงอยู่ในช่วง ค.ศ. 770 ถึง 781[3]

เรื่องราวแบบดั้งเดิม

[แก้]

พระนามส่วนพระองค์ของจักรพรรดิโคนิง (อิมินะ) คือ ชิรากาเบะ (ญี่ปุ่น: 白壁โรมาจิShirakabe)[4] ในฐานะพระราชโอรสในเจ้าชายชิกิและพระราชนัดดาในจักรพรรดิเท็นจิ[5] พระนามเรียกขานของพระองค์คือเจ้าชายชิรากาเบะ ตอนแรกชิรากาเบะไม่อยู่ในสายการสืบทอดราชบัลลังก์ เนื่องจากจักรพรรดิเท็มมุและฝ่ายของพระองค์ครองบัลลังก์อยู่

โคนิงสมรสกับเจ้าหญิงอิโนเอะ พระราชธิดาในจักรพรรดิโชมุ ซึ่งให้กำเนิดพระราชธิดาและพระราชโอรส หลังจากจักรพรรดินีโชโตกุสวรรคต พระองค์จึงได้รับเลือกเป็นรัชทายาท ข้าราชบริพารชั้นสูงอ้างว่าจักรพรรดินีทรงทิ้งพินัยกรรมไว้ในจดหมายที่แต่งตั้งให้พระองค์เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง ก่อนหน้านี้ โคนิงถือเป็นผู้ที่มีความสุภาพและไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมือง

โคนิงมีพระมเหสี 5 พระองค์และพระราชโอรสธิดารวม 7 พระองค์[6]

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของโคนิง

[แก้]

ภายหลังการสวรรคตของจักพรรรดินีโชโตกุ เจ้าชายชิรากาเบะเสด็จขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิโคนิงในวันเดียวกันและได้มีพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 770 และในวันนั้นได้มีการเปลี่ยนปีรัชศกเป็นปี โฮกิ ในวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 773 จักรพรรดิโคนิงได้สถาปนาเจ้าชายยะมะเบะพระราชโอรสองค์ใหญ่ขึ้นเป็นรัชทายาทแทนเจ้าชายโอะซะเบะที่ถูกปลด

จักรพรรดิโคนิงได้สละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายยะมะเบะขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิคัมมุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 781 หลังจากครองสิริราชสมบัติได้ 10 ปีก่อนจะสวรรคตเมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 782 ขณะพระชนมายุได้ 72 พรรษา

รัชสมัย

[แก้]

ปีในรัชสมัยโคนิงมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราช (nengō)[7]

พระราชพงศาวลี

[แก้]

[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Emperor Kōnin, Tahara no Higashi Imperial Mausoleum, Imperial Household Agency
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 60.
  3. Brown and Ishida. Gukanshō, pp. 276–277; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, pp. 147–148; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 81–85., p. 81, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. Brown and Ishida, p. 276, Varley p. 149.
  5. Varley, p. 147.
  6. Brown and Ishida, p. 277.
  7. Titsingh, p. 81; Brown and Ishida, p. 277.
  8. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 27 January 2018.

ข้อมูล

[แก้]

]]