ข้ามไปเนื้อหา

แอนติโปรตอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แอนติโปรตอน (อังกฤษ: antiproton) หรือชื่อที่รู้จักกันน้อยกว่าคือ เนกาตรอน (อังกฤษ: negatron) หรือ
p
(อ่านว่า พีบาร์) เป็นปฏิยานุภาคของโปรตอน แอนติโปรตอนนั้นเสถียร แต่โดยทั่วไปมีอายุสั้น เพราะการชนกับโปรตอนจะทำให้อนุภาคทั้งสองประลัยในการระเบิดของพลังงาน

พอล ดิแรกทำนายการมีอยู่ของแอนติโปรตอนซึ่งมีประจุไฟฟ้า -1 ตรงข้ามกับประจุไฟฟ้า +1 ของโปรตอน ในการบรรยายรางวัลโนเบลปี 1933[1] ดิแรกได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการตีพิมพ์สมการดิแรกของเขาซึ่งทำนายการมีผลเฉลยบวกและลบของสมการพลังงาน () ของไอน์สไตน์ เมื่อปี 1928 ก่อนหน้านี้ และการมีอยู่ของโพสิตรอน ปฏิยานุภาคของอิเล็กตรอน ซึ่งมีประจุบวกและสปินตรงข้ามกับอิเล็กตรอน

แอนติโปรตอนได้รับการยืนยันเชิงทดลองในปี 1955 โดยนักฟิสิกส์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เอมิลิโอ เซอเกรและโอเวน แชมเบอร์เลน ซึ่งทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1959 แอนติโปรตอนประกอบด้วยแอนติควาร์กขึ้น 2 ตัว และแอนติควาร์กลง 1 ตัว (uud) คุณสมบัติของแอนติโปรตอนที่มีการวัดทั้งหมดตรงกับคุณสมบัติของโปรตอน โดยมีข้อยกเว้นว่าแอนติโปรตอนมีประจุไฟฟ้าและโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกับโปรตอน คำถามที่ว่าสสารแตกต่างจากปฏิสสารอย่างไรนั้นยังไม่มีคำตอบ เพื่ออธิบายว่าเหตุใดเอกภพจึงรอดจากบิกแบงและเหตุใดปฏิสสารจึงเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ

[แก้]

แอนติโปรตอน ได้รับการตรวจพบในรังสีคอสมิกมาเป็นเวลานานกว่า 25 ปีแล้ว, ครั้งแรกโดยการทดลองโดยบอลลูนลมและเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยเครื่องตรวจจับดาวเทียม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dirac, Paul A. M. (1933), Theory of electrons and positrons (PDF) (ภาษาอังกฤษ)