ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์

Доне́цкая Наро́дная Респу́блика (รัสเซีย)
ธงชาติสหพันธรัฐโนโวรอสซียา#สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์
ธงชาติ
ตราอาร์มของสหพันธรัฐโนโวรอสซียา#สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์
ตราอาร์ม
ดินแดนที่สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์อ้างสิทธิ์ (สีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม) และครอบครอง (สีเขียวเข้ม)
ดินแดนที่สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์อ้างสิทธิ์ (สีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม) และครอบครอง (สีเขียวเข้ม)
ที่ตั้งสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ในประเทศยูเครน
ที่ตั้งสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ในประเทศยูเครน
สถานะหน่วยการเมืองคล้ายรัฐที่ได้รับการรับรองบางส่วน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ดอแนตสก์
ภาษาราชการรัสเซีย[1]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
เดนิส ปูชีลิน[2]
• นายกรัฐมนตรี
วลาดีมีร์ ปัชคอฟ
• ประธานสภาประชาชน
วอลอดือมือร์ บิดยอว์กา
สภานิติบัญญัติสภาประชาชน
เอกราชจากยูเครน
• สถาปนา
7 เมษายน พ.ศ. 2557
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[3]
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
พื้นที่
• รวม
8,902 ตารางกิโลเมตร (3,437 ตารางไมล์)
ประชากร
• พ.ศ. 2561 ประมาณ
2,302,444[4] (ไม่ได้รับการจัดอันดับ)
สกุลเงินรูเบิลรัสเซีย[5]
เขตเวลาUTC+3 (เวลามอสโก[6])
ขับรถด้านขวามือ

สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ (รัสเซีย: Доне́цкая Наро́дная Респу́блика, ออกเสียง: [dɐˈnʲetskəjə nɐˈrodnəjə rʲeˈspublʲkə]; ยูเครน: Доне́цька наро́дна респу́бліка) เป็นหน่วยการเมืองคล้ายรัฐที่ประกาศตนเองเป็นเอกราชในแคว้นดอแนตสก์ ทางตะวันออกของประเทศยูเครน[7] เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดภายในสาธารณรัฐนี้คือดอแนตสก์ เดนิส ปูชีลิน ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2561[8][9]

สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ประกาศเอกราชจากยูเครนพร้อมกับสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์หลังการปฏิวัติยูเครนใน พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งโดยใช้อาวุธระหว่างยูเครนกับสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังการประกาศเอกราชของหน่วยการเมืองทั้งสอง หน่วยการเมืองทั้งสองได้รับความช่วยเหลือจากด้านมนุษยธรรมจากรัสเซีย[10][11] ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากเนโท ยูเครน และโลกตะวันตกอ้างว่าหน่วยรบของรัสเซียได้ช่วยเหลือโดยมอบรถถังและปืนใหญ่รุ่นใหม่แก่หน่วยการเมืองทั้งสอง[12] รัสเซียปฏิเสธเรื่องนี้ แต่กล่าวว่าอาสาสมัครชาวรัสเซียกำลังช่วยเหลือหน่วยการเมืองทั้งสองอยู่[12] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ รัสเซีย ยูเครน และองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรปได้ร่วมลงนามในความตกลงมินสค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยุติความขัดแย้งและผนวกดินแดนที่ฝ่ายกบฏยึดครองกลับคืนสู่ยูเครนโดยแลกกับการเพิ่มอำนาจปกครองตนเองของพื้นที่[13][14] แต่ความตกลงนี้ไม่เคยได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างสมบูรณ์[15]

ยูเครนถือว่าทั้งสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์เป็นองค์การก่อการร้าย[16] แต่การขนานนามเช่นนี้ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐบาลหรือหน่วยงานระหว่างประเทศใด ๆ (รวมถึงสหภาพยุโรป สหรัฐ และรัสเซีย)[17] ยูเครนยังถือว่าพื้นที่หน่วยการเมืองทั้งสองเป็นดินแดนของยูเครนที่ถูกยึดครองชั่วคราว (ร่วมกับสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและเซวัสโตปอล) อันเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางทหารของรัสเซีย[18][19] สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และรัฐบาลยูเครนประมาณการว่ามีประชากรราว 2 ล้านคน (มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของแคว้นดอแนตสก์) อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ยึดครอง แม้ว่าฝ่ายกบฏจะไม่ได้ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคว้นดอแนตสก์ โดยควบคุมพื้นที่เพียง 7,853 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น แต่พวกเขาก็ครอบครองเมืองใหญ่อย่างดอแนตสก์ (เมืองหลักของแคว้นดอแนตสก์), มากียิวกา และฮอร์ลิวกาเป็นต้น[20]

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศว่าตนได้รับรองทั้งสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์เป็นรัฐเอกราช[21] ก่อนหน้านี้รัสเซียได้รับรองเอกสารระบุตัวตน ประกาศนียบัตร สูติบัตร ทะเบียนสมรส และป้ายทะเบียนรถยนต์ที่ออกโดยสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[22][23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Русский признали в ДНР единственным государственным языком [The Russian language has become the sole state language in the DPR]. Российская газета (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  2. Luhn, Alec (12 November 2018). "Kremlin-backed candidate elected leader of breakaway Donetsk republic". The Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
  3. Walker, Shaun (12 May 2014). "Ukraine: pro-Russia separatists set for victory in eastern region referendum". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 January 2017.
  4. "Численность населения Донецкой Народной Республики на 1 января 2018 года" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-16. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.
  5. "Постановление Президиума Совета Министров ДНР № 18-3 от 28.09.2015 г." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
  6. "DPR and LPR switch over to Moscow time". Information Telegraph Agency of Russia. 26 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-20. สืบค้นเมื่อ 28 October 2014.
  7. "Ukraine-Russia crisis: Putin to recognise breakaway Ukraine regions". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
  8. "Парламент ДНР сменил исполняющего обязанности главы республики". Meduza. Meduza. 7 September 2018. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021. Народный совет самопровозглашенной Донецкой народной республики (ДНР) сменил исполняющего обязанности главы республики — вместо вице-премьера Дмитрия Трапезникова им стал председатель парламента Денис Пушилин, пишет «Интерфакс».
  9. "South Ossetia recognises independence of Donetsk People's Republic". Information Telegraph Agency of Russia. 27 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-17. สืบค้นเมื่อ 28 June 2014.
  10. "Ten Things You Should Know about Russian Involvement in Ukraine". Atlantic Council (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 January 2017. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  11. "Database and Video Overview of the Russian Weaponry in the Donbas". InformNapalm.org (English) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 17 September 2016. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  12. 12.0 12.1 Ukraine crisis: Russian troops crossed border, Nato says, BBC News (12 November 2014)
    Putin defends rebel leaders in eastern Ukraine, BBC News (19 December 2019)
    Ukraine conflict: Front-line troops begin pullout, BBC News (29 October 2019).
  13. "Package of Measures for the Implementation of the Minsk Agreements" (Press release) (ภาษารัสเซีย). Organization for Security and Co-operation in Europe. 12 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  14. "Minsk agreement on Ukraine crisis: text in full". The Daily Telegraph. 12 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  15. Explainer: What Is The Steinmeier Formula – And Did Zelenskiy Just Capitulate To Moscow?, Radio Free Europe (2 October 2019)
    Ukraine conflict: Can peace plan in east finally bring peace?, BBC News (10 December 2020)
    Ukraine conflict: Guns fall silent but crisis remains, BBC News (23 October 2015)
  16. "Ukraine's prosecutor general classifies self-declared Donetsk and Lugansk republics as terrorist organizations". Kyiv Post. 16 May 2014.
  17. "EU terrorist list – Consilium". Europa (web portal). สืบค้นเมื่อ 21 May 2019.
  18. "Набув чинності закон про окуповані території України" [The Law on Occupied Territories of Ukraine has come into force]. Mirror Weekly (ภาษายูเครน). 15 May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2014.
  19. Higher educational institutions at the temporarily occupied territories of Ukraine will not work – the minister of education. Newsru. 1 October 2014
  20. "Self-proclaimed Luhansk People's Republic governs most residents". Information Telegraph Agency of Russia. 25 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 25 September 2014.
    "Nowhere to Run in Eastern Ukraine". The New York Times. 13 November 2014. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.
  21. "Putin to recognise breakaway Ukraine regions". BBC News. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
  22. "Putin orders Russia to recognize documents issued in rebel-held east Ukraine". Reuters. Reporting by Maria Kiselyova in Moscow, addition reporting by Pavel Polityuk in Kiev; editing by Adrian Croft. 18 February 2017. สืบค้นเมื่อ 19 February 2017.{{cite news}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  23. "U.S. embassy in Kiev critical of Moscow order on Ukrainian documentation". Reuters. Reporting by Andrey Ostroukh; editing by David Goodman. 19 February 2017. สืบค้นเมื่อ 19 February 2017.{{cite news}}: CS1 maint: others (ลิงก์)