ข้ามไปเนื้อหา

สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม
     
โลโก้ สตาร์ วอร์ส ไตรภาค
กำกับ
บทภาพยนตร์
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพ
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่าย1977–2019:
ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
ตั้งแต่ 2019:
วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์[a]
วันฉาย
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง76.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(เฉพาะเอพพิโซด 4, 5, 6)
ทำเงิน1.798 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(เฉพาะเอพพิโซด 4, 5, 6)

สตาร์ วอร์ส ไตรภาค (อังกฤษ: Star Wars Trilogy) หรือมักเรียกว่า ไตรภาคเดิม หรือ ไตรภาคคลาสสิก เป็นภาพยนตร์ไตรภาคชุดแรกที่สร้างในแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส มหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศซึ่งสร้างโดย จอร์จ ลูคัส ภาพยนตร์สร้างโดยลูคัสฟิล์มและจัดจำหน่ายโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ประกอบด้วย ภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ฉบับดั้งเดิม (1977), สตาร์ วอร์ส 2 (1980) และ สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได (1983) ภาพยนตร์ในไตรภาคเล่าเรื่องสงครามกลางเมืองระหว่างพันธมิตรกบฏและจักรวรรดิกาแลกติก ผู้ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ เช่นเดียวกับ การเดินทางของวีรบุรุษของลุค สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งได้รับการฝึกฝนจากอาจารย์เจได โอบีวัน เคโนบี และ โยดา จนได้กลายเป็นเจได ลุค, เจ้าหญิงเลอา, ฮาน โซโล, ชิวแบคคา, ซีทรีพีโอและอาร์ทูดีทู ได้เข้าร่วมพันธมิตรกบฏเพื่อต่อสู้กับเอมไพร์และลอร์ดมืดผู้ชั่วร้าย ดาร์ธ เวเดอร์

ภาพยนตร์ในชุดไตรภาคเดิมนี้ มีเนื้อเรื่องเป็นองก์ที่สองของ มหากาพย์สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งอยู่ระหว่างไตรภาคต้น ฉายระหว่างปี ค.ศ. 1999 ถึง 2005 และไตรภาคต่อ ฉายระหว่างปี ค.ศ. 2015 ถึง 2019[1]

เบื้องหลัง

[แก้]

เมื่อปี ค.ศ. 1971 จอร์จ ลูคัส ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจาก ภาพยนตร์ฉายเป็นตอนของ แฟลชกอร์ดอน แต่ว่าเขาไม่ได้รับสิทธิ์นั้น เขาจึงเริ่มต้นพัฒนาภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศของเขา โดยได้รับแรงบันดาลใจจากงานของ เอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรห์[b][2] หลังลูคัสกำกับภาพยนตร์เรื่อง อเมริกันกราฟฟิติ (1973) เขาได้เขียนเรื่องย่อของภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศของเขาจำนวนสองหน้า ตั้งชื่อว่า เจอร์นัลออฟเดอะวิลล์ส (อังกฤษ: Journal of the Whills) ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ตัดสินใจลงทุนกับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังภาพยนตร์ได้รับการปฏิเสธจาก ยูไนเต็ดอาร์ตติสต์, ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์และดิสนีย์[3][4][5] ลูคัสรู้สึกว่าเนื้อเรื่องต้นฉบับของเขานั้นยากเกินกว่าจะเข้าใจ ดังนั้นในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1973 เขาเริ่มเขียนบทร่างจำนวน 13 หน้า ตั้งชื่อว่า เดอะ สตาร์ วอร์ส มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ เดอะฮิดเดนฟอร์เทรสส์ (1958) ของ อากิระ คูโรซาวะ[6] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1974 เขาได้ขยายเรื่องราวไปสู่ร่างบทแรกของบทภาพยนตร์[7] แต่พบว่าบทภาพยนตร์นั้นยาวเกินไปสำหรับภาพยนตร์เรื่องเดียว[8] และในที่สุดบทร่างก็กลายเป็นบทภาพยนตร์ของภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ฉบับดั้งเดิม[9]

ลูคัสเจรจาต่อรองเพื่อรักษาสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ ทอม พอลล็อก ซึ่งต่อมาได้เป็นทนายของลูคัสเขียนว่า "เรามาถึงข้อตกลงที่จอร์จจะรักษาสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ แต่ไม่ได้ [สิทธิ์ในการขายสินค้า] ทั้งหมดซึ่งตามมาในภายหลัง คุณต้องไตร่ตรองให้ดี แค่สิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ และฟอกซ์จะได้รับโอกาสครั้งแรกและสิทธิ์ในการปฏิเสธครั้งสุดท้ายในการสร้างภาพยนตร์"[10] ลูคัสได้รับเงินข้อเสนอ $50,000 สำหรับการเขียนบท อีก $50,000 สำหรับการสร้างและอีก $50,000 สำหรับการกำกับภาพยนตร์[10] ค่าตอบแทนการกำกับของเขาต่อมาเพิ่มเป็น $100,000 เขายังได้เจรจาขอสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อและเป็นเจ้าของ 40% ของผลกำไรจากการขายสินค้า[11][12][13] แฮร์ริสัน ฟอร์ด หนึ่งในนักแสดงใน อเมริกันกราฟฟิติ เลิกเป็นนักแสดงเพื่อพยายามไปเป็นช่างไม้ จนกระทั่งลูคัสจ้างเขามาเล่นเป็น ฮาน โซโล[14]

การคัดเลือกนักแสดง

[แก้]

มีนักแสดงหลายพันคนได้การพิจารณาในค้นหานักแสดงหลักของไตรภาค[15] นักแสดงที่ได้รับการคัดเลือก ได้รับการพิจารณาจากผู้ชมหลายคนว่ามีเคมีเข้ากันบนหน้าจอ แม้ว่าบางคนจะไม่มีประสบการณ์ ยกเว้นอเล็ก กินเนสส์และปีเตอร์ คุชิง[16][17] บางคน เช่น ฟอร์ดบอกว่าบทพูดนั้นดูอืดอาด และบทพูดหลายบทมาจากการด้นสด บางบทพูดถือว่าเป็นช่วงที่น่าจดจำที่สุดในภาพยนตร์[c]

ภาพยนตร์

[แก้]

สตาร์ วอร์ส ฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 เล่าเรื่องราวของ ลุค สกายวอล์คเกอร์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองระหว่าง จักรวรรดิกาแลกติก และ พันธมิตรกบฏ โดยมีดรอยด์สองตัวและหนึ่งอัศวินเจได คอยช่วยเหลือเขา โดยลุคช่วยสร้างหนึ่งในชัยชนะที่สำคัญที่สุดให้กับพันธมิตรกบฏ ความสำเร็จที่ไม่คาดคิดของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ลูคัสสร้างรากฐานของการสร้างภาพยนตร์ฉายเป็นตอนที่มีความละเอียดซับซ้อน[19] ลูคัสตัดสินใจว่าภาพยนตร์ชุดนี้จะเป็นไตรภาคของไตรภาค ด้วยเนื้อเรื่องที่เขาเขียนไว้สำหรับสร้างภาคต่อ[20] โดยภาพยนตร์ฉบับดั้งเดิมได้เพิ่มชื่อเรื่องรอง เพื่อเป็นบอกว่าเป็นภาคแรกของไตรภาคที่สอง[21] ภาคต่อเรื่องแรก สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ฉายเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 เล่าเรื่องราวของ ลุค เริ่มฝึกฝนเพื่อเป็นเจไดโดย โยดา อาจารย์เจไดคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ลุคเผชิญหน้ากับซิธลอร์ด ดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งเขาเปิดเผยว่าเป็นพ่อของลุค เวเดอร์พยายามชักชวนลุคให้เข้าสู่ด้านมือของพลัง สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได ฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 เล่าเรื่องราวของ ลุค ที่กลายเป็นเจไดแล้ว เขาพยายามเกลี้ยกล่อมเวเดอร์ เพื่อให้พ่อของเขากลับสู่ด้านสว่างและกอบกู้จักรวาลจากเอมไพร์ ภาคต่อทั้งสองภาค ลูคัสฟิล์ม เป็นผู้ออกเงินทุนสร้างเองและประชาสัมพันธ์โดยไม่มีเลขตอน ซึ่งเลขตอนนั้นปรากฏในฉากข้อความเปิดเรื่อง

ภาพยนตร์ วันฉาย ผู้กำกับ ผู้เขียนบทภาพยนตร์ เนื้อเรื่องโดย ผู้อำนวยการสร้าง ผู้จัดจำหน่าย
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 (1977-05-25) จอร์จ ลูคัส แกรี เคิร์ทซ์ ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (ช่วงแรก)
วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์
สตาร์ วอร์ส 2[e]
(The Empire Strikes Back)
21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (1980-05-21) เออร์วิน เคิร์ชเนอร์ ลีห์ แบรคเกตต์และลอว์เรนซ์ แคสแดน จอร์จ ลูคัส
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 (1983-05-25) ริชาร์ด มาร์ควานด์ ลอว์เรนซ์ แคสแดนและจอร์จ ลูคัส ฮาเวิร์ด คาแซนเจียน

สตาร์ วอร์ส

[แก้]

สตาร์ วอร์ส 2

[แก้]

สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได

[แก้]

การตอบรับ

[แก้]

การตอบรับจากนักวิจารณ์

[แก้]
ภาพยนตร์ รอตเทนโทเมโทส์ เมทาคริติก
สตาร์ วอร์ส 93% (8.81/10 เรตติงเฉลี่ย) (124 บทวิจารณ์)[22] 90 (24 บทวิจารณ์)[23]
สตาร์ วอร์ส 2 94% (8.97/10 เรตติงเฉลี่ย) (102 บทวิจารณ์)[24] 82 (25 บทวิจารณ์)[25]
สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได 82% (7.25/10 เรตติงเฉลี่ย) (94 บทวิจารณ์)[26] 58 (24 บทวิจารณ์)[27]

รางวัลออสการ์

[แก้]
รางวัลออสการ์ รางวัลที่ชนะ
สตาร์ วอร์ส สตาร์ วอร์ส 2 สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได
งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 50 งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 53 งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 56
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง[g]
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชนะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ชนะ เสนอชื่อเข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ชนะ เสนอชื่อเข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับเสียงยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม ชนะ ชนะ เสนอชื่อเข้าชิง
เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ชนะ
รางวัลความสำเร็จเกียรติยศ ชนะ[h] ชนะ[i] ชนะ[j]

การทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ

[แก้]
ภาพยนตร์ วันฉาย ทุนสร้าง ทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ อันดับสูงสุด อ้างอิง
อเมริกาเหนือ ปรับเงินตามอัตราเงินเฟ้อ
(อเมริกาเหนือ)[k]
ภูมิภาคอื่น ทั่วโลก อเมริกาเหนือ ทั่วโลก
สตาร์ วอร์ส 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 $11 ล้าน $460,998,007 $1,608,419,900 $314,600,000 $775,598,007 #16 #90 [29][30]
สตาร์ วอร์ส 2 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 $33 ล้าน $290,075,067 $886,571,200 $257,900,000 $547,975,067 #91 #183 [31][32][33]
สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 $32.5 ล้าน $309,306,177 $849,356,500 $166,000,000 $475,306,177 #75 #220 [34][35]
ทั้งหมด $76.5 ล้าน $1,060,779,251 $3,344,347,600 $728,500,000 $1,798,879,251 #2 #2

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

  1. ตามข้อตกลงเมื่อปี ค.ศ. 2012 สิทธิ์การจัดจำหน่ายแผ่นภาพยนตร์ของ เอพพิโซด 56 จะถูกโอนให้กับดีสนีย์ในปี ค.ศ. 2020 ขณะที่สิทธิ์ของ เอพพิโซด 4 จะคงอยู่กับฟอกซ์ แต่ในที่สุด สิทธิ์ของไตรภาคนี้ก็ถูกโอนให้กับดีสนีย์เมื่อปี ค.ศ. 2019 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการของฟอกซ์
  2. ผู้สร้าง แฟลชกอร์ดอน อเล็กซ์ เรย์มอนด์ ได้รับอิทธิพลจาก จอห์น คาเตอร์ ออฟ มาร์ส
  3. บทพูดของฟอร์ด "We're fine. We're all fine here, now, thank you. How are you?" ใน ความหวังใหม่ และ "I know" ใน จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ เป็นการด้นสด และ มาร์ค ฮามิลล์ (ลุค สกายวอล์คเกอร์) พูดว่า "I can't see a thing in this helmet" โดยที่เขาไม่รู้ว่ากำลังถ่ายทำอยู่ใน ความหวังใหม่ [18]
  4. ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่
  5. ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ
  6. ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได
  7. อเล็ก กินเนสส์ สำหรับบทบาท โอบีวัน เคโนบี
  8. Ben Burtt for the creation of the alien, creature, and robot voices
  9. Brian Johnson, Richard Edlund, Dennis Muren and Bruce Nicholson for visual effects
  10. Richard Edlund, Dennis Muren, Ken Ralston and Phil Tippett for visual effects
  11. การปรับอัตราเงินเฟ้อมีความซับซ้อนเนื่องจากด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าภาพยนตร์สี่เรื่องแรกมีการฉายหลายรอบในแต่ละปีที่แตกต่างกัน ดังนั้นรายได้ของพวกเขาไม่สามารถปรับได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดตัว จำนวนเงินที่ปรับอัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2005 พบในหนังสือ Block, Alex Ben; Wilson, Lucy Autrey, บ.ก. (2010). George Lucas's Blockbusting: A Decade-By-Decade Survey of Timeless Movies Including Untold Secrets of Their Financial and Cultural Success. HarperCollins. p. 519. ISBN 978-0061778896. ทำการปรับค่าเงินดอลลาร์ให้สอดคล้องกับ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางแห่งมินนิอาโปลิส โดยใช้จำนวนเงินของปี ค.ศ. 2005 เป็นฐาน[28]

อ้างอิง

  1. "Star Wars: Episode IX Cast Announced". StarWars.com. July 27, 2018. สืบค้นเมื่อ November 24, 2018.
  2. Young, Bryan (December 21, 2015). "The Cinema Behind Star Wars: John Carter". StarWars.com. สืบค้นเมื่อ September 17, 2018.
  3. Vallely, Jean (June 12, 1980). "The Empire Strikes Back and So Does Filmmaker George Lucas With His Sequel to Star Wars". Rolling Stone. Wenner Media LLC.
  4. Rinzler 2007, p. 8.
  5. Smith, Kyle (September 21, 2014). "How 'Star Wars' was secretly George Lucas' Vietnam protest". The New York Post. สืบค้นเมื่อ September 22, 2014.
  6. Kaminski 2008, p. 50.
  7. Empire of Dreams: The Story of the Star Wars Trilogy (DVD). Star Wars Trilogy Box Set DVD documentary. 2004. 14 นาที.
  8. Empire of Dreams: The Story of the Star Wars Trilogy (DVD). Star Wars Trilogy Box Set DVD documentary. 2004. 16 นาที.
  9. "Starkiller". Jedi Bendu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2006. สืบค้นเมื่อ March 27, 2008.
  10. 10.0 10.1 Fleming Jr, Mike (December 18, 2015). "An Architect Of Hollywood's Greatest Deal Recalls How George Lucas Won Sequel Rights". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ November 10, 2017.
  11. Empire of Dreams: The Story of the Star Wars Trilogy (DVD). Star Wars Trilogy Box Set DVD documentary. 2004. 18 นาที.
  12. "The Real Force Behind 'Star Wars': How George Lucas Built an Empire". The Hollywood Reporter. February 9, 2012. สืบค้นเมื่อ September 26, 2018.
  13. "30 pieces of trivia about Star Wars". BBC. May 23, 2007. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  14. Taylor, Chris (April 13, 2017). "Harrison Ford to George Lucas: You're wrong about Han Solo". Mashable. สืบค้นเมื่อ December 27, 2018.
  15. Romano, Steven (August 20, 2015). "Actors Who Almost Appeared in Star Wars". StarWars.com. สืบค้นเมื่อ August 17, 2019.
  16. Wilson, Kevin (March 1, 2016). "What If The Original Star Wars Trilogy Was Cast Today?". ScreenRant. สืบค้นเมื่อ August 17, 2019.
  17. Chiodaroli, David (May 20, 2019). "10 Behind the Scenes Stories from the Original Star Wars Trilogy". ScreenRant. สืบค้นเมื่อ August 17, 2019.
  18. Mitchell, Maurice (May 4, 2018). "9 Greatest Unscripted Moments in "Star Wars" Movie History". The Geek Twins. สืบค้นเมื่อ August 17, 2019.
  19. Kaminski 2008, p. 142.
  20. Steranko, "George Lucas", Prevue #42, September–October 1980.
  21. Saporito, Jeff (November 11, 2015). "Why was "Star Wars Episode IV: A New Hope" originally released under another title". ScreenPrism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ November 7, 2018.
  22. "Star Wars". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 25, 2020.
  23. "Star Wars: Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
  24. "Empire Strikes Back". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 25, 2020.
  25. "The Empire Strikes Back". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
  26. "Return of the Jedi". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 25, 2020.
  27. "Return of the Jedi". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
  28. 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF). American Antiquarian Society. 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF). American Antiquarian Society. 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–". สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
  29. "Star Wars (1977) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
  30. "Star Wars Episode IV: A New Hope (1977)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ May 15, 2019.
  31. "The Empire Strikes Back (1980) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
  32. "Star Wars Episode V: The Empire Strikes Back (1980)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ May 15, 2019.
  33. "The Empire Strikes Back (1980) - International Box Office Results - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
  34. "Return of the Jedi (1983) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
  35. "Star Wars: Episode VI – Return of the Jedi (1983)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ May 15, 2019.