ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาอิสลามในประเทศอาเซอร์ไบจาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาอิสลามในทวีปยุโรป
ตามจำนวนร้อยละของประชากรประเทศ[1]
  90–100%
  70–80%
คาซัคสถาน
  50–70%
  30–50%
มาซิโดเนียเหนือ
  10–20%
  5–10%
  4–5%
  2–4%
  1–2%
  < 1%
ศาสนาอิสลามในประเทศอาเซอร์ไบจาน
อิสลาม ร้อยละ
ชีอะฮ์
  
85%
ซุนนี
  
15%
มัสยิดชะฮ์อับบาสที่แกนแจ ประเทศอาเซอร์ไบจาน
มัสยิดบีบี-เฮย์แบตที่บากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน

ประชากรมากกว่าร้อยละ 90 ในประเทศอาเซอร์ไบจานนับถือศาสนาอิสลาม [มีจำนวนประมาณการไว้ที่ 96.9%,[2] 93.4% (Berkley Center, 2012),[3] 99.2% (Pew Research Center, 2009)][4] ส่วนประชากรที่เหลือนับถือศาสนาอื่นหรือไม่นับถือศาสนา แม้ว่าจะไม่ได้เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการก็ตาม ในบรรดามุสลิมส่วนใหญ่ การปฏิบัติตามศาสนามีความแตกต่าง และอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมมีแนวโน้มที่จะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและชาติพันธุ์มากกว่าศาสนา ประชากรมุสลิมแบ่งเป็นผู้นับถือนิกายชีอะฮ์ประมาณ 85% และผู้นับถือนิกายซุนนีประมาณ 15% ความแตกต่างตามแบบดั้งเดิมไม่ได้รับการกำหนดไว้อย่างชัดเจน[a]

ชีอะฮ์ส่วนใหญ่นับถือตามสำนักสิบสองอิมาม ส่วนฝั่งซุนนีนับถือตามสำนักฮะนะฟี และขบวนการซะละฟีเริ่มได้รับผู้นับถือ นอกจากนี้ ยังปรากฏผู้นับถือศาสนาอิสลามพื้นเมืองด้วย

แกลลัพโพลใน ค.ศ. 2010 รายงานว่า ชาวอาเซอร์ไบจานร้อยละ 49 ตอบว่า ไม่ ในคำถาม "ศาสนาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันหรือไม่?" ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอัตราที่สูงที่สุดในบรรดาประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่[5] ส่วนโพลใน ค.ศ. 1998 ประมาณสัดส่วนของผู้ศรัทธาอย่างเคร่งครัดในอาเซอร์ไบจานมีเพียงร้อยละ 20[6][7]

หมายเหตุ

[แก้]
    • "2021 Report on International Religious Freedom: Azerbaijan". U.S Department of State. 2 June 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2022.
    • Greenger, Nurit (8 May 2017). "Azerbaijan a Destination Worthwhile. My week travel log in Azerbaijan - Day two". The Jerusalem Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2023.
    • Balci, Bayram (18 March 2013). "The Syrian Crisis: A View from Azerbaijan". Carnegie Endowment for International Peace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2022.
    • Ismayilov, Murad (2018). "1: Hybrid Intentionality and Exogenus Sources of Elite's Manifold Attitudes to Islam in Azerbaijan". The Dialectics of Post-Soviet Modernity and the Changing Contours of Islamic Discourse in Azerbaijan. London SE11 4AB: Lexington Books. p. 2. ISBN 9781498568364.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
    • S. Nielsem, Jorgen; Balciz Goyushov, Bayram, Altay (2013). "Azerbaijan". Yearbook of Muslims in Europe: Volume 5. Leiden, The Netherlands: Brill. p. 65. ISBN 978-90-04-25456-5.
    • Whitaker's Shorts 2015: International. Bloomsbury. 2014. ISBN 9781472914842.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Religious Composition by Country, 2010-2050". Pew Research Center. 12 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
  2. "The World Factbook". CIA. May 18, 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
  3. "Berkley Center for Religion Peace and World Affairs". Georgetown University. July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
  4. MAPPING THE GLOBAL MUSLIM POPULATION เก็บถาวร 2011-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน| PEW FORUM| October 2009
  5. Religiosity Highest in World's Poorest Nations August 31, 2010 - data accessed on 22 May 2015
  6. Fereydoun Safizadeh, "On Dilemmas of Identity in the Post-Soviet Republic of Azerbaijan," Caucasian Regional Studies, vol.3, no.1 (1998).
  7. Tadeusz Swietochowski Azerbaijan: The Hidden Faces of Islam. World Policy Journal, Volume XIX, No 3, Fall 2002

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]