ข้ามไปเนื้อหา

วรพจน์ เพชรขุ้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วรพจน์ เพชรขุ้ม

เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)
อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
สัญชาติไทย
การศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่
โรงเรียนพนมศึกษา
โรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร
โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
วิทยาลัยทองสุข
อาชีพ
อาชีพนักมวย
สัญชาติไทย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัด กองทัพบกไทย
ชั้นยศ ร้อยตรี

ร้อยตรี วรพจน์ เพชรขุ้ม เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อดีตนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นชาวไทย เจ้าของเหรียญเงินในแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่สาธารณรัฐเฮลเลนิก[1] และได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชิญธงชาติไทยนำขบวนนักกีฬาทีมชาติไทย ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และในการแข่งขันมวยสากลในเอเชียนเกมส์ 2010 วรพจน์ชนะนักมวยจากประเทศจีน ซึ่งเป็นเจ้าภาพ และวรพจน์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน นับเป็นเหรียญทองแรกของวรพจน์ในเอเชียนเกมส์ เหรียญทองเดียวของมวยสากลสมัครเล่นไทยในการแข่งขันครั้งนี้ และเหรียญทองสุดท้ายของทีมชาติไทยในการแข่งขันครั้งนี้ ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ประจำ กองการพลศึกษา ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ประวัติ

[แก้]

สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านใหญ่ และเข้าศึกษาในมัธยมศึกษาที่โรงเรียนพนมศึกษา (มัธยมศึกษาปีที่ 1) ก่อนย้ายไปโรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร (มัธยมศึกษาปีที่ 2) และโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยทองสุข

โอลิมปิกฤดูร้อน

[แก้]

โอลิมปิกฤดูร้อน 2004

[แก้]

วรพจน์ลงแข่งขันในรุ่นแบนตั้มเวท 54 กิโลกรัม ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยขึ้นแข่งขันกับคู่ชกดังต่อไปนี้

  • รอบ 32 คนสุดท้าย: ชนะ คิมวอนลี จากเกาหลีใต้ 1-47 หมัด
  • รอบ 16 คนสุดท้าย: ชนะ คาวาสซี คัตซีกอฟ จากเบลารุส 33-18 หมัด
  • รอบ 8 คนสุดท้าย: ชนะ เนสเตอร์ โบรุม จากไนจีเรีย 29-14 หมัด
  • รอบรองชนะเลิศ: ชนะ อักฮาซี มัมมาดอฟ จากอาเซอร์ไบจาน 22-19 หมัด
  • รอบชิงชนะเลิศ: แพ้ กิลเลอร์โม ริกอนเดอ๊อกซ์ จากคิวบา 12-22 หมัด[2]

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008

[แก้]

ก่อนการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน วรพจน์ประกาศว่า ตนจะคว้าเหรียญทองให้ได้ เพื่อนำไปเป็นกำลังใจให้คุณพ่อที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง วรพจน์สามารถผ่านรอบแรกไปโดยไม่ต้องชก เนื่องจากจับสลากได้ผ่านโดยอัตโนมัติ ในรอบสองสามารถเอาชนะ วิตโตริโอ จาฮิน ปาร์ริเนลโล จากอิตาลี ไปได้ขาดลอย 12-1 หมัด[3] แต่รอบสาม หรือรอบ 8 คนสุดท้าย วรพจน์กลับแพ้ให้กับ แยนคีล ลีออน อลาร์คอน จากคิวบา 2-10 หมัด ที่เป็นตัวแทนของกิลเลอร์โม ริกอนเดอ๊อกซ์ คู่ชิงชนะเลิศที่สามารถเอาชนะวรพจน์ไปได้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว[4] โดยภายหลังการชก วรพจน์ถึงกับร่ำไห้ ที่ไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลใดได้เลย[5]

โอลิมปิกฤดูร้อน 2012

[แก้]

ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร วรพจน์ไม่อาจผ่านไปในรอบสุดท้ายในการแข่งขันได้ ด้วยเป็นฝ่ายแพ้ ชีวา ธาปา นักมวยชาวอินเดีย อายุ 18 ปี ไป 10-16 หมัด ในการแข่งขันคัดเลือกตัวที่ประเทศคาซัคสถาน เมื่อต้นเดือนเมษายน ปีเดียวกัน[6]

ผลงาน

[แก้]
  • เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 21 (บรูไน)
  • เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 22 (เวียดนาม)
  • เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 23 (ฟิลิปปินส์)
  • เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 24 (ไทย)
  • เหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 2006 (กาตาร์)
  • เหรียญเงินโอลิมปิก 2004 (กรีซ)
  • เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2010 (กว่างโจว จีน)
  • เหรียญทองคิงส์คัพ
  • เหรียญทองรายการนานาชาติ 2004 (อียิปต์)

กรณีถ่ายแบบ

[แก้]

ในกลางปี พ.ศ. 2552 วรพจน์ตกเป็นข่าวฮือฮาตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่าได้ไปถ่ายแบบในกับนิตยสารฉบับหนึ่งในแบบวาบหวิว ทำให้ทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นลงโทษห้ามชกเป็นเวลา 3 เดือน[7]

กรณีการเลื่อนยศ

[แก้]

กรณีข่าวดังการเลื่อนยศไวของ ร.ต.อ.หญิง แคท อาทิติยา เบ็ญจะปัก อายุ 27 ปี ฝ่ายเลขานุการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ ที่ผ่านหลักสูตร กอส. สามารถเลื่อนตำแหน่งจากชั้นประทวน ส.ต.ต.ถึง ร.ต.อ.หญิง โดยใช้เวลาเพียง 4 ปี

จ.ส.ต. วรพจน์ ระบุว่า ช่วงหนึ่งที่รู้สึกแย่ที่สุด คือ มีรุ่นน้องไปแข่งโอลิมปิกแต่ไม่ได้เหรียญ ได้เหรียญซีเกมส์ แต่รุ่นน้องคนนี้ เขาได้ติดยศเป็นนายทหาร ซึ่งระบบการเลื่อนยศ มันไม่แฟร์ ถ้าบอกทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ ตนก็ทำ แต่การเลื่อนยศ มันไม่ใช่อยู่ที่ผลงาน หรือทำประโยชน์ เพื่อชาติ มันอยู่ที่ดวง

“ผมก็จบปริญญาโทตั้งแต่ปี 51 ตอนนี้หมดศรัทธาหมดใจแล้ว เตรียมยื่นใบลาออกจากราชการในเร็วๆ นี้ ขอฝากความหวัง หากรัฐบาลใหม่ จะเข้ามาแก้ไขดูแลเรื่องการเลื่อนยศให้เป็นธรรม”[8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นิพนธ์ ขาวอุบล. วรพจน์ เพชรขุ้ม 'รับใช้ชาติ 16 ปี..ผมพอแล้ว. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6814. วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555. หน้า 16
  2. วรพจน์ เพชรขุ้ม นักมวยไทย จาก สุราษฎร์ธานี พ่ายไป 22 12 กลายเป็นนักชกเหรียญเงินคนที่สองของไทย
  3. โอลิมปิก 2008: วรพจน์ เพชรขุ้มทะลุชิงทองแดง หลังไล่ตะบันนักชกอิตาลีขาดลอย 12:1
  4. โอลิมปิก 2008: วรพจน์ เพชรขุ้มสุดต้าน แพ้นักชกคิวบาขาดลอย 2:10 หมัด
  5. "วรพจน์ เพชรขุ้ม ให้สัมภาษณ์หลังพลาดเข้ารอบรองชนะเลิศทั้งน้ำตา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-23. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
  6. ร่วงเรียบ!วรพจน์พ่ายนักชกโรตีวัย18ปีชวดตั๋วอลป. จากสยามสปอร์ต
  7. "วรพจน์ เพชรขุ้ม ถ่ายนู้ด นิตยสารเกย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-08. สืบค้นเมื่อ 2010-04-07.
  8. วรพจน์ เพชรขุ้ม เปิดใจทำมา 23 ปี-ช่วยสร้างชื่อเสียง หมดศรัทธาแล้ว จ่อยื่นใบลาออก
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ เพิ่มเติม เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]