ยกยาการ์ตา
ยกยาการ์ตา ꦛꦔꦪꦺꦴꦒꦾꦏꦂꦠ | |
---|---|
นคร | |
คำขวัญ: | |
ที่ตั้งในเขตพิเศษยกยาการ์ตา | |
แผนที่ประเทศอินโดนีเซียเน้นยกยาการ์ตา | |
พิกัด: 7°48′5″S 110°21′52″E / 7.80139°S 110.36444°E | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
จังหวัด | เขตพิเศษยกยาการ์ตา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Haryadi Suyuti |
• รองนายกเทศมนตรี | Heroe Purwadi |
พื้นที่ | |
• นคร | 46 ตร.กม. (18 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 2,159.1 ตร.กม. (833.6 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 113 เมตร (371 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน 2559) | |
• นคร | 412,331 คน |
• ความหนาแน่น | 9,000 คน/ตร.กม. (23,000 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 4,010,436 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,900 คน/ตร.กม. (4,800 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากรศาสตร์ | |
• ศาสนา[1] | อิสลาม 83.22% คาทอลิก 9.39% โปรเตสแตนต์ 6.26% พุทธ 0.29% ฮินดู 0.20% ลัทธิขงจื๊อ 0.02% อื่น ๆ 0.01% |
เขตเวลา | UTC+7 (เวลาอินโดนีเซียตะวันตก) |
รหัสพื้นที่ | (+62) 274 |
ทะเบียนพาหนะ | AB |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ | 0.837 (สูงมาก) |
เว็บไซต์ | www.jogjakota.go.id |
ยกยาการ์ตา[2] หรือ ยอกยาการ์ตา[2] (อินโดนีเซีย: Yogyakarta; ชวา: ꦛꦔꦪꦺꦴꦒꦾꦏꦂꦠ) เป็นเมืองหลักของเขตพิเศษยกยาการ์ตา เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่นี่ถือว่าเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมชวาโบราณทั้งในด้านดนตรี นาฏศิลป์ และงานฝีมือ ยกยาการ์ตาเคยเป็นเมืองหลวงในช่วงที่อินโดนีเซียเรียกร้องเอกราชจากดัชต์ในปีช่วง ค.ศ.1945 - 1949
เมืองยกยาการ์ตาแต่เดิมมีชื่อว่า "อโยธยา" (Ayodhya) ซึ่งตั้งตามเมืองในวรรณคดีเรื่องรามายณะ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นยกยาการ์ตา โดยคำว่า ยกยา (Yogya) แปลว่า "เหมาะสม" ส่วนคำว่า การ์ตา (Karta) แปลว่า "รุ่งเรือง"
ประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ค.ศ.1945 - ปัจจุบัน)
[แก้]ในปี 1942 จักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเกาะชวาและปกครองจนกระทั่งญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามในปี 1945 ซูการ์โนประกาศเอกราชประเทศอินโดนีเซียในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน สุลต่านฮาเมิงกูบูโบโนที่ 6 ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีซูการ์โนทันที พระองค์ทรงสนับสนุนการเกิดของสาธารณรัฐอินโดนีเซียและยอมรับว่ารัฐสุลต่านยกยาการ์ตาคือส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย โดยเจ้าผู้ครองเมืองซูราการ์ตาก็ทำเช่นเดียวกัน และราชอาณาจักรชวาทั้งสองรัฐได้ถูกตั้งให้เป็นเขตปกครองพิเศษในอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามเนื่องจากสมาชิกฝ่ายที่ต่อต้านกษัตริย์ในซูราการ์ตาก่อการจลาจล ทำให้เจ้าผู้ครองนครซูราการ์ตาหมดอำนาจในปี 1946 และถูกผนวกรวมกับจังหวัดชวากลาง
การสนับสนุนของเมืองยกยาการ์ตามีความสำคัญในการรวมชาติ ในระหว่างสงครามเรียกร้องเอกราชอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1945-1949 เมืองยกยาการ์ตาได้รับการตั้งให้เป็นเมืองหลวงในระหว่างปี 1945 ถึง 1948 ก่อนจะย้ายเมืองหลวงไปที่จาการ์ตา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิอากาศ
[แก้]ลักษณะภูมิอากาศของยกยาการ์ตาเป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยช่วงฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมิถุนายน ช่วงฤดูแล้วจะเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน
ข้อมูลภูมิอากาศของYogyakarta | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 28.9 (84) |
28.9 (84) |
29.4 (85) |
30.6 (87) |
30 (86) |
30 (86) |
29.4 (85) |
30 (86) |
30.6 (87) |
31.1 (88) |
30 (86) |
29.4 (85) |
30 (86) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 22.2 (72) |
22.2 (72) |
22.2 (72) |
22.2 (72) |
22.2 (72) |
21.1 (70) |
20.6 (69) |
20.6 (69) |
21.7 (71) |
22.2 (72) |
22.2 (72) |
22.2 (72) |
21.7 (71) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 350 (13.78) |
330 (12.99) |
310 (12.2) |
210 (8.27) |
120 (4.72) |
80 (3.15) |
40 (1.57) |
20 (0.79) |
30 (1.18) |
90 (3.54) |
220 (8.66) |
340 (13.39) |
2,180 (85.83) |
แหล่งที่มา: https://www.weatherbase.com/weather/weather.php3?s=35869&refer=&units=metric |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Data Sensus Penduduk 2010 - Badan Pusat Statistik Republik Indonesia <https://sp2010.bps.go.id/index.php/site/tabel?tid=321&wid=3400000000&lang=id>
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.