ฟาโรห์คูอิ
ฟาโรห์คูอิ | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เศษจารึกที่ปรากฏคาร์ทูชของฟาโรหฺ์คูอิจากมาสตาบาในดารา[1] | ||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบระยะเวลา, ราว 2150 ปีก่อนคริสตกาล? | |||||||||||||||
| ||||||||||||||||
สุสาน | พีระมิดแห่งคูอิ? | |||||||||||||||
ราชวงศ์ | อาจจะ ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ หรือผู้ปกครองท้องถิ่น |
คูอิ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยต้นช่วงระหว่างกลางหนึ่ง พระองค์อาจอยู่ในราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ ตามที่เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทได้เสนอความเห็นที่ว่า[2] เขาอาจจะเป็นผู้ปกครองระดับท้องถิ่นที่ตั้งตัวว่าเป็นฟาโรห์แทน
หลักฐานรับรอง
[แก้]ฟาโรห์คูอิไม่เป็นที่รู้จักจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานยืนยันการมีอยู่ของเขาเพียงอย่างเดียว คือ จารึกบนบล็อกหินที่แสดงคาร์ทูชของพระองค์ ซึ่งตีพิมพ์ออกเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1912 โดยอาห์เมด เบย์ กามัล นักไอยคุปต์วิทยา และได้ตีพิมพ์ซ้ำโดยเรย์มอนด์ ไวลล์ในเวลาต่อมา บล็อกหินนี้ถูกขุดขึ้นมาจากหลุมฝังศพมาสตาบาของแหล่งสุสานดาราใกล้กับมันฟาลุต[3] แหล่งสุสานแห่งนี้มีความโดดเด่นจากโครงสร้างหลุมฝังพระศพขนาดมหึมา ซึ่งถูกให้สร้างโดยฟาโรห์พระองค์ที่คลุมเครือนี้ (หรือที่เรียกว่า พีระมิดแห่งคูอิ) โดยสันนิษฐานว่าบล็อกหินนี้มาจากวิหารฝังพระศพที่เกือบหายไป[4][5]
ฟาโรห์หรือผู้ปกครองท้องถิ่น
[แก้]ตามคาร์ทูชของฟาโรห์คูอิในจารึกจากแหล่งสุสานดารานั้น นักไอยคุปต์วิทยารวมถึงเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท ได้เสนอว่า พระองค์เป็นฟาโรห์ในสมัยต้นช่วงระหว่างกลางครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาของราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์
แต่ในทางกลับกัน บาร์รี เคมป์ และโทบี วิลกินสัน นักไอยคุปต์วิทยาเชื่อว่า มีโอกาสมากกว่าที่คูอิจะเป็นเพียงขุนนาง ซึ่งเป็นผู้ปกครองระดับท้องถิ่น ได้ฉวยประโยชน์จากการเกิดสุญญากาศของอำนาจ หลังจากการล่มสลายของสมัยราชอาณาจักรเก่าและประกาศตัวเองว่า เป็นฟาโรห์ในลักษณะเดียวกันกับผู้ปกครองท้องถิ่นใกล้เคียงในช่วงระยะเวลาเดียวกันอย่างเฮราคลีโอโพลิส ซึ่งเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kamal, Ahmed Bey (1912). "Fouilles à Dara et à Qoçéîr el-Amarna". Annales du Service des Antiquités de l'Égypte. p. 132.
{{cite journal}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen, München-Berlin, Deutscher Kunstverlag, 1984, p. 60, ISBN 3422008322.
- ↑ Kamal, Ahmed Bey (1912). "Fouilles à Dara et à Qoçéîr el-Amarna". Annales du Service des Antiquités de l'Égypte. p. 132.
- ↑ Mark Lehner, The Complete Pyramids, Thames & Hudson, ISBN 978-0-500-28547-3, p. 164
- ↑ Egyptian History Dyn. 6-11
- ↑ Barry Kemp, Ancient Egypt: Anatomy of a Civilization, 2nd ed., New York, Routledge, 2006, pp. 338-339.
- ↑ Toby Wilkinson, The Rise and Fall of Ancient Egypt, New York, Random House, 2010, p. 123.
บรรณานุกรม
[แก้]- Jürgen von Beckerath, Chronologie des pharaonischen Ägypten, Zabern Verlag Mainz, 1994, p. 151. ISBN 3-8053-2310-7.
- Thomas Schneider, Lexikon der Pharaonen, Düsseldorf, Albatros Verlag, 2002, p. 104. ISBN 3-491-96053-3.