ข้ามไปเนื้อหา

พีทาโกรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีทาโกรัส
Marble bust of a man with a long, pointed beard, wearing a tainia, a kind of ancient Greek headcovering in this case resembling a turban. The face is somewhat gaunt and has prominent, but thin, eyebrows, which seem halfway fixed into a scowl. The ends of his mustache are long a trail halfway down the length of his beard to about where the bottom of his chin would be if we could see it. None of the hair on his head is visible, since it is completely covered by the tainia.
รูปปั้นครึ่งตัวของพีทาโกรัสแห่งซามอสใน
พิพิธภัณฑ์คาปิโตลิเน, โรม[1]
เกิดป. 570 BC
ซาโมส
เสียชีวิตประมาณ 495 BC

พีทาโกรัส (ประมาณ 570 ปี – ประมาณ 495 ปีก่อนคริสตกาล; กรีก: Πυθαγόρας) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ เป็นที่รู้จักในนามเจ้าของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

พีทาโกรัสได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งตัวเลข" พีทาโกรัสไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อคณิตศาสตร์ เขายังได้สร้างสรรค์ความคิดหลายอย่างให้กับปรัชญาและศาสนา ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ถึงทุกวันนี้ เราไม่สามารถที่จะพูดถึงชีวประวัติของพีทาโกรัสได้ด้วยความแน่นอน เพราะตำนานและเรื่องเล่าต่าง ๆ นานาปิดบังข้อเท็จจริงของชีวิตพีทาโกรัสมากกว่าปราชญ์ใด ๆ ในยุคก่อนโสกราตีส

ประวัติ

[แก้]
พีทาโกรัส บิดาแห่งตัวเลข

พีทาโกรัสเกิดเมื่อประมาณ 570 ปีก่อนคริสตกาล ที่เมืองซามอส (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกรีซ)[2] และเป็นบุตรชายของพีทาอิสและเนซาร์คัส พีทาโกรัสได้ออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของเขาไปที่โครโทน (Croton) ในทางใต้ของอิตาลีเมื่อเขาเป็นชายหนุ่ม เพื่อที่จะหลีกหนีจากรัฐบาลทรราชของโพลีเครติส และผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดคะเนว่าก่อนที่พีทาโกรัสจะถึงเมืองโครโทนนั้น เขาได้เยี่ยมเยียนนักปราชญ์ของอียิปต์และบาบีโลนก่อน เมื่อเขาได้ย้ายถิ่นฐานจากซามอสมายังโครโทน พีทาโกรัสก็ได้ก่อตั้งสมาคมศาสนาลับ ที่คล้ายคลึงกับลัทธิออร์เฟอัสที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น

ณ เมืองโครโทน พีทาโกรัสได้จัดปฏิรูปวัตนธรรมของชาวโครโทน โดยแนะให้ชาวเมืองทำตามจริยธรรมและสร้างกลุ่มสาวกของพีทาโกรัส จากนั้นพีทาโกรัสก็ได้เปิดสถานศึกษา โรงเรียนของพีทาโกรัสเปิดรับทั้งชายและหญิง แต่ผู้ที่จะเข้าร่วมจำเป็นต้องสละทรัพย์สิน กินอยู่แบบมังสวิรัติที่โรงเรียน และเรียกตัวเองว่ามาเทมาทิคอย (Mathematikoi) คนอื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงก็สามารถเข้าเรียนได้ด้วย แต่จะไม่จำเป็นต้องสละทรัพย์สิน หรือใช้ชีวิตแบบมังสวิรัติ

สำนักพีทาโกเรียน

[แก้]
ภาพแสดงกลุ่มพีทาโกเรียน

สาวกของพีทาโกรัสได้ชื่อว่าพวก "พีทาโกเรียน" ผู้ที่เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ที่บุกเบิกเรขาคณิต พวกพีทาโกเรียนยังมีความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดและความเชื่อว่าตัวเลขเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสิ่ง พวกเขาปฏิบัติพิธีกรรมล้างมลทิน ปฏิบัติตามกฎการกินอาหาร และกฎอื่น ๆ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้พวกเขาเป็นอิสระจากวงจรการเกิดใหม่

พวกพีทาโกรัสยังเชื่ออีกเรื่องความเสมอภาคของชายและหญิง พีทาโกรัสเองริเริ่มโรงเรียนของเขาพร้อมด้วยภรรยาของเขา ทีอาโน (Theano) และหลังจากที่พีทาโกรัสได้ตายไปแล้ว ทีอาโนและลูกได้สอนต่อที่โรงเรียนของพีทาโกรัส

พวกพีทาโกเรียนปฏิบัติต่อทาสอย่างดี และสัตว์มีฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิญญาณ พวกพีทาโกเรียนยังเชื่ออีกว่าการชำระล้างวิญญาณที่สูงที่สุดคือ "ปรัชญา" หลายสิ่งที่พวกพีทาโกเรียนปฏิบัตินั้นเหมือนกันกับสิ่งที่พวกเชนในอินเดียปฏิบัติ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านสันนิษฐานว่าพีทาโกรัสเองเคยได้ศึกษาอยู่กับพวกเชนในอินเดีย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Joost-Gaugier 2006, p. 143.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]