ข้ามไปเนื้อหา

ทนายความที่ปรึกษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทนายความที่ปรึกษา (อังกฤษ: solicitor) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย (legal practitioner) ในบางเขตอำนาจ ซึ่งโดยประเพณีแล้วมีบทบาทข้องเกี่ยวกับกิจการกฎหมายส่วนใหญ่ บุคคลที่จะเป็นทนายความที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ เช่น ในอังกฤษและเวลส์ ทนายความที่ปรึกษาจะได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติทนายความที่ปรึกษา ค.ศ. 1974 (Solicitors Act 1974) อนึ่ง ทนายความที่ปรึกษายังต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เว้นแต่กรณียกเว้นบางประการ และในอังกฤษ ยังมีทนายความที่ปรึกษามากกว่าเนติบัณฑิต (barrister) เพื่อทำหน้าที่ทั่วไปในการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย และดำเนินกระบวนพิจารณาทางกฎหมาย[1]

ในสหราชอาณาจักร, รัฐบางรัฐของออสเตรเลีย, ฮ่องกง, แอฟริกาใต้ ที่ซึ่งเรียก ทนายความที่ปรึกษา ว่า อัตเทอร์นีย์ (attorney), และไอร์แลนด์ วิชาชีพกฎหมายแบ่งออกเป็นสองอย่างต่างกัน คือ ทนายความที่ปรึกษา อย่างหนึ่ง กับ เนติบัณฑิต หรือบางแห่งเรียก ทนายแก้ต่าง (advocate) อีกอย่างหนึ่ง โดยนักกฎหมายมักเป็นได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้เท่านั้น ทว่า ในแคนาดา มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และรัฐส่วนใหญ่ในออสเตรเลีย วิชาชีพกฎหมายในปัจจุบันเป็นไปในทางผสมผสาน โดยอนุญาตให้นักกฎหมายเป็นได้ทั้งเนติบัณฑิตและทนายความที่ปรึกษา ดังนั้น ผู้สำเร็จการศึกษากฎหมายอาจเริ่มอาชีพอย่างหนึ่งแล้วจึงมีคุณสมบัติสำหรับอีกอย่างหนึ่งได้[2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. A Dictionary of Law (7 ed.), J Law and EA Martin, Oxford University Press, 2009, ISBN 9780191726729
  2. "Converting From Barrister To Solicitor". Aspiring Solicitors. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 17 August 2015.
  3. "Ex-Freshfields solicitor switches to the Bar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 17 August 2015.

ดูเพิ่ม

[แก้]