ข้ามไปเนื้อหา

สงครามกาซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ พ.ศ. 2551–-2552
วันที่27 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 18 มกราคม พ.ศ. 2552
สถานที่
ผล อิสราเอลและฮามาสประกาศหยุดยิง
อิสราเอลถอนกำลังออกจากฉนวนกาซา
คู่สงคราม
 อิสราเอล ฮามาส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อิสราเอล Ido Nehoshtan (IAF)
อิสราเอล Yoav Galant (SoCom)
อิสราเอล Gabi Ashkenazi (CoS)
อิสราเอล Ehud Barak (DefMin)
Khaled Meshaal
Ismail Haniyeh
Mahmoud az-Zahar
Ahmed Jabari
กำลัง
จรวดและเฮลิคอปเตอร์ มากกว่า 80 ลำ[1] ตำรวจและประชาชนที่พร้อมต่อสู้ 10,000 คน[2]
ความสูญเสีย
ตาย 13 คน บาดเจ็บ 142 คน ตาย 800 คน บาดเจ็บมากกว่า 3,000 คน[3]

ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ พ.ศ. 2551-2552 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (11:30 น. เวลาท้องถิ่น; 16:30 น. เวลาในประเทศไทย)[4] เมื่อประเทศอิสราเอลประกาศปฏิบัติการทางการทหารที่มีชื่อว่า ปฏิบัติการแคสต์ลีด (อังกฤษ: Operation Cast Lead; ฮีบรู: מבצע עופרת יצוקה‎) ซึ่งเป็นการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ของประเทศอิสราเอล ขณะประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ประณามการโจมตี พร้อมเรียกร้องประชาคมระหว่างประเทศเข้าแทรกแซง

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2551 ที่ผ่านมาว่า กองกำลังป้องกันอิสราเอล ได้โจมตีทางอากาศซึ่งตั้งเป้าที่ฐานที่ตั้งเครื่องยิงจรวดของกลุ่มฮามาส ซึ่งซุกซ่อนอยู่ในเขตชุมชนของฉนวนกาซ่า ภายใต้การปกครองของกลุ่มมุสลิมฮามาสจากการยิงจรวดเข้าใส่อิสราเอลครั้งล่าสุด ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักรบฮามาส และมีรายงานผู้บาดเจ็บมากกว่า 10,000 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสประมาณ 2,000 คน เพื่อตอบโต้กลุ่มฮามาสที่ยิงจรวดโจมตีภาคใต้ของอิสราเอล

นายบาสเซม นาอิม รัฐมนตรีสาธารณสุขฮามาส กล่าวว่า การโจมตีครั้งนี้นอกจากมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,200 คนแล้ว ยังมีผู้ได้รับาดเจ็บอีกกว่า 1,000 คน รายงานระบุว่า เฉพาะในเมืองกาซาซิตี มีประชาชนอย่างน้อย 700 คน เสียชีวิต และเชื่อว่าคนเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ภายในกองบัญชาการตำรวจฮามาส

ขณะเดียวกัน โฆษกทหารอิสราเอล กล่าวผ่านวิทยุกองทัพบก ว่า ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในครั้งนี้เป็นเพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้น และมีขึ้นหลังการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคง นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า ปฏิบัติการครั้งนี้อาจต้องใช้เวลา แต่ก็ไม่ได้กำหนดกรอบเวลา เนื่องจากขึ้นอยู่กับสถานการณ์บนภาคพื้นดิน

ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ของอิสราเอลครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากกลุ่มหัวรุนแรงในฉนวนกาซายิงจรวดและปืน ค. เข้าใส่ดินแดนของอิสราเอลเมื่อหลายวันก่อน และอิสราเอลได้เตือนว่าจะต้องได้รับการตอบโต้อย่างรุนแรง กองกำลังป้องกันอิสราเอลอ้างว่า ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นความพยายามสกัดกั้นการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายจากดิน แดนภายใต้การควบคุมของกลุ่มฮามาส และจะยังคงดำเนินต่อไป และอาจขยายปฏิบัติการในกรณีจำเป็น

ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2552 อิสราเอลส่งทหารบกเข้าในฉนวนกาซา เพื่อระงับการโจมตีโดยใช้ระเบิดของกลุ่มฮามาส[5]

ในที่สุดนายกรัฐมนตรีเอฮุด โอลเมิร์ต แห่งอิสราเอลประกาศหยุดยิงฉนวนกาซ่า หลังจากที่มีการโจมตีนานถึง 22 วัน แต่ยังคงตรึงกำลังทหารเอาไว้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Israel National News".
  2. https://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-3360655,00.html
  3. "Casualties". Reuters. 27 Dec 2008.
  4. Harel, Amos (December 27, 2008). "ANALYSIS / IAF strike on Gaza is Israel's version of 'shock and awe'". Ha’aretz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ December 27, 2008.
  5. BBC News - Israeli troops enter Gaza strip (อังกฤษ)