ข้ามไปเนื้อหา

วิลลาทูเกินท์ฮัท

พิกัด: 49°12′26″N 16°36′57″E / 49.20722°N 16.61583°E / 49.20722; 16.61583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิลลาทูเกินท์ฮัท
Villa Tugendhat
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทบ้านพักอาศัย
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
แบบอย่างสากล
เมืองเบอร์โน
ประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย
พิกัด49°12′26″N 16°36′57″E / 49.20722°N 16.61583°E / 49.20722; 16.61583
เริ่มสร้างค.ศ. 1928–1930
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างเหล็กและแผ่นกระจก
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกลูทวิช มีส ฟัน แดร์ โรเออ

วิลลาทูเกินท์ฮัท (เยอรมัน: Villa Tugendhat; เช็ก: Vila Tugendhat) เป็นบ้านพักอาศัยหรูในเขตแชร์นาโปเล (Černá Pole) เมืองเบอร์โน ประเทศเช็กเกีย ได้รับการออกแบบโดยลูทวิช มีส ฟัน แดร์ โรเออ สถาปนิกชาวเยอรมัน อาคารก่อสร้างขึ้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมโครงสร้างเหล็ก สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1928–1930[1] ให้แก่ฟริทซ์ ทูเกินท์ฮัท (Fritz Tugendhat) และเกรทา (Greta) ภรรยาของเขา บ้านหลังนี้ถือเป็นหนึ่งในงานต้นแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่รุ่นแรก ๆ ในยุโรป จนในเวลาต่อมาวิลลานี้ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญแห่งนวยุคนิยม

บ้านได้ออกแบบให้สูงสามชั้น ทอดตามเนินและหันหน้าเข้าสู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ ในส่วนของชั้นที่สอง (ชั้น G) เป็นส่วนพื้นที่สาธารณะ ประกอบด้วยห้องรับแขกหลัก เรือนกระจก และพื้นที่รับรองต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงระเบียงสู่ด้านนอกด้วย นอกจากนี้ยังประกอบด้วยห้องครัวและห้องของคนรับใช้ซึ่งวางอยู่ข้างเคียงกัน ในชั้นที่สาม ประกอบด้วยทางเข้าหลักจากถนนซึ่งทำเป็นทางไปสู่ระเบียง ในโถงรับรอง และห้องต่าง ๆ ของสมาชิกครอบครัว รวมไปถึงโรงจอดรถ[2]

บ้านมีความโดดเด่นที่ใช้วัสดุที่เป็นโครงสร้างเหล็ก และผนังกระจกขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยสีขาวล้วน นอกจากนี้มีส ฟัน แดร์ โรเออ ยังได้ออกแบบเครื่องเรือนให้เข้ากับอาคารนี้ด้วย โดยเขาได้ลิลลี ไรซ์ (Lilly Reich) มาร่วมออกแบบเครื่องเรือนภายในซึ่งได้แก่เก้าอี้ทูเกินท์ฮัทและเก้าอี้เบอร์โน ที่ภายหลังก็ยังคงมีการนำแบบเก้าอี้เหล่านี้ไปผลิตสืบต่อจนถึงทุกวันนี้[3] ภายในบ้านไม่มีการตกแต่งใด ๆ รวมไปถึงงานศิลปะต่าง ๆ แต่มีส ฟัน แดร์ โรเออ ใช้วิธีการตกแต่งอาคารโดยอาศัยลวดลายจากธรรมชาติ จากแผ่นหิน ผนังโอนิกซ์ และไม้เขตร้อนชื้น ซึ่งต่างเป็นสิ่งที่มีส ฟัน แดร์ โรเออ มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก

วิลลาทูเกินท์ฮัทใช้งบประมาณในการสร้างในขณะนั้นที่สูงมาก เนื่องจากวิธีการก่อสร้างที่ล้ำสมัย แปลกใหม่ ค่าวัสดุชั้นเลิศ รวมไปถึงกลไกภายในอาคารทั้งระบบฮีเตอร์และระบบระบายอากาศ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 2001[4]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Courland, Robert. Concrete Planet. Prometheus Books, Amherst, NY. (2012) page 326.
  2. The Structure เก็บถาวร 2020-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Villa Tugendhat.
  3. THE COMMISSIONERS, https://www.tugendhat.eu/en/the-commissioners-.html
  4. https://whc.unesco.org/en/list/1052