ข้ามไปเนื้อหา

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 1999

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 1999
ทั้งสองสโมสรก่อนการแข่งขัน
รายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 1998–99
วันที่26 พฤษภาคม 1999
สนามกัมนอว์, บาร์เซโลนา
ผู้ตัดสินปีแอร์ลุยจี กอลลีนา (อิตาลี)[1]
ผู้ชม90,245
สภาพอากาศสะอาด
21 °C (70 °F)
64% ความชื้นสัมพัทธ์[2]
1998
2000
การฉลองของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด หลังการแข่งขัน

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 1999 (อังกฤษ: 1999 UEFA Champions League Final) เป็นการแข่งขันฟุตบอลในรอบชิงชนะเลิศ เพื่อหาสโมสรที่จะเป็นแชมป์ของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในฤดูกาล 1998–99 เป็นการพบกันระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด จากพรีเมียร์ลีก ของอังกฤษ กับ บาเยิร์นมิวนิก จากบุนเดิสลีกา ของเยอรมนี โดยผลการแข่งขันแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเอาชนะไปได้ 2–1 ประตู[1]

โดยก่อนหน้านั้นทั้งสองสโมสรได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในการเล่นในลีกสูงสุดของประเทศตนเอง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งได้แชมป์พรีเมียร์ลีก และเอฟเอคัพมาแล้วในฤดูกาลนั้น ตั้งเป้าที่จะคว้า "สามแชมป์" (Treble) ให้ได้ภายในฤดูกาลเดียว ซึ่งเหลือเพียงรายการเดียว คือ รายการนี้ และกับบาเยิร์นมิวนิกที่หวังว่าจะได้สามแชมป์เช่นเดียวกัน โดยได้แชมป์บุนเดิสลีกามาก่อนหน้านั้น ทั้งที่ยังไม่จบฤดูกาล เพราะมีคะแนนนำหน้าสโมสรที่ได้อันดับสองคือ ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน มาก จึงตั้งความหวังว่าจะได้แชมป์รายการนี้ รวมถึงเดเอ็ฟเบ-โพคาลในอนาคตด้วย

การแข่งขัน

[แก้]

การแข่งขันมีขึ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 ที่สนามกัมนอว์ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยที่กัปตันทีมตัวจริงของทั้งสองสโมสร คือ รอย คีน ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และสเตฟาน เอฟเฟนแบร์ก ของบาเยิร์นมิวนิก ไม่อาจลงทำการแข่งขันได้ เนื่องจากถูกใบเหลืองจากการแข่งขันนัดก่อนหน้านั้น ผู้ที่ทำหน้าที่กัปตันทีมแทน คือ พีเตอร์ สไมเกิล ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และโอลิเวอร์ คาห์น ของบาเยิร์นมิวนิก ซึ่งเป็นผู้เล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตูทั้งคู่

รูปแบบการแข่งขัน บาเยิร์นมิวนิกซึ่งออกนำไปก่อนจากลูกฟรีคิกของมารีโอ บาสเลอร์ ตั้งแต่นาทีที่ 6 และได้มีโอกาสยิงอีกหลายหน แต่ทว่าไปชนเสาหรือคานประตู แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่มีโอกาสที่สู้หรือกลับมาสู่การแข่งขันได้เลย แต่ในช่วงท้ายการแข่งขัน ปรากฏว่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ประตูตีเสมอจากเทดดี เชอริงแฮม ในช่วงทดเวลาพิเศษครึ่งหลังนาทีที่ 1 และพลิกมาชนะได้จากลูกโหม่งจากโอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์ จากการเตะมุม ในช่วงทดเวลาพิเศษครึ่งหลังนาทีที่ 3 ได้แชมป์ไปในที่สุดราวกับปาฏิหารย์ ทำให้จบฤดูกาล 1998–99 ด้วยการได้สามแชมป์ตามเป้าอย่างยิ่งใหญ่[3] โดยผลการแข่งขันครั้งนั้นได้มีการวิเคราะห์ว่า จุดเปลี่ยนเป็นเพราะการที่ลอธาร์ มัทธาอุส กองหลังคนสำคัญของบาเยิร์นมิวนิกถูกเปลี่ยนตัวออกในนาทีที่ 80 ด้วยคิดว่าน่าจะชนะแล้ว ทำให้ไม่มีผู้เล่นในแนวรับของบาเยิร์นมิวนิกแข็งแกร่งพอที่จะต้านทานการบุกของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้[4]

ชุดแข่งขัน

[แก้]

ชุดแข่งขันหลักของทั้งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและบาเยิร์นมิวนิกต่างเป็นสีแดงล้วนทั้งคู่ ตามระเบียบของยูฟ่าจึงต้องมีการสโมสรใดสโมสรหนึ่งเปลี่ยนแปลง จึงมีการเสี่ยงกันโดยการโยนเหรียญ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะ จึงได้สวมชุดที่เป็นสีหลักของสโมสร คือ เสื้อสีแดง, กางเกงขาสั้นสีขาวและถุงเท้าสีขาว ในขณะที่บาเยิร์นมิวนิกสวมเสื้อสีเงิน, กางเกงขาสั้นและถุงเท้าสีเงินที่มีแถบสีแดง[5]

รายละเอียด

[แก้]
แมนเชอร์เตอร์ยูไนเต็ด
บาเยิร์นมิวนิก
GK 1 เดนมาร์ก พีเตอร์ สไมเกิล (กัปตัน)
RB 2 อังกฤษ แกรี่ เนวิลล์
CB 5 นอร์เวย์ รอนนี่ ยอห์นเซน
CB 6 เนเธอร์แลนด์ ยาป สตัม
LB 3 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เดนิส เออวิน
RM 11 เวลส์ ไรอัน กิกส์
CM 7 อังกฤษ เดวิด แบ็กแคม
CM 8 อังกฤษ นิกกี บัตต์
LM 15 สวีเดน ยัสเปอร์ บลอมควิสต์ Substituted off in the 67th นาที 67'
CF 19 ตรินิแดดและโตเบโก ดไวต์ ยอร์ก
CF 9 อังกฤษ แอนดี้ โคล Substituted off in the 81st นาที 81'
ตัวสำรอง:
GK 17 เนเธอร์แลนด์ ไรมอนด์ ฟาน เด โกลว์
DF 4 อังกฤษ เดวิด เมย์
DF 12 อังกฤษ ฟิล เนวิลล์
DF 30 อังกฤษ เวส บราวน์
MF 34 อังกฤษ โจนาทาน กรีนนิง
FW 10 อังกฤษ เทดดี เชอริงแฮม Substituted on in the 67th minute 67'
FW 20 นอร์เวย์ โอเลอ กุนนาร์ โซลชาร์ Substituted on in the 81st minute 81'
ผู้จัดการ:
สกอตแลนด์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
GK 1 เยอรมนี โอลิเวอร์ คาห์น (กัปตัน)
SW 10 เยอรมนี ลอธาร์ มัทธาอุส Substituted off in the 80th นาที 80'
RB 2 เยอรมนี มาร์คุส บับเบิล
CB 25 เยอรมนี ทอมัส ลิงเค
CB 4 กานา ซามูเอล กุฟฟูร์
LB 18 เยอรมนี ไมเคิล ทาร์นัต
CM 11 เยอรมนี สเตฟาน เอฟเฟนแบร์ก โดนใบเหลือง ใน 60th นาที 60'
CM 16 เยอรมนี เยนส์ เยเรไมนส์
RF 14 เยอรมนี มารีโอ บาสเลอร์ Substituted off in the 87th นาที 87'
CF 19 เยอรมนี การ์สเตน แยงเกอร์
LF 21 เยอรมนี อเล็กซานเดอร์ ซิกเลอร์ Substituted off in the 71st นาที 71'
ตัวสำรอง:
GK 22 เยอรมนี เบิร์นด์ เดรเฮอร์
DF 5 เยอรมนี ทอมัส เฮลเมอร์
MF 7 เยอรมนี เมห์เมต โชลล์ Substituted on in the 71st minute 71'
MF 8 เยอรมนี ทอมัส สตรุนซ์
MF 17 เยอรมนี ทอสเทน ฟิงค์ Substituted on in the 80th minute 80'
MF 20 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ฮาซาน ซาลิฮามิดซีก Substituted on in the 87th minute 87'
FW 24 อิหร่าน อาลี ดาอี
ผู้จัดการ:
เยอรมนี ออตมาร์ ฮิตซ์เฟลด์

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
อิตาลี เกนนาโร มาซเซลี (อิตาลี)[1]
อิตาลี เกลาดีโอ พักลีซี (อิตาลี)[1]
ผู้จัดสินสำรอง:
อิตาลี ฟีออเรนโซ เตรออสซี (อิตาลี)[1]

กติกาการแข่งขัน

  • 90 นาที
  • 30 นาทีต่อเวลาพิเศษหากไม่มีผลแพ้ชนะ และใช้กฎโกลเดนโกล
  • ยิงจุดโทษหากยังไม่มีผลแพ้ชนะในช่วงเวลาพิเศษ
  • ผู้เล่นสำรองสโมสรละเจ็ดคน แต่ส่งลงแข่งขันได้สูงสุดสามคน

บาเยิร์นครองบอล 82% แมนยูครองบอล 18%

หลังการแข่งขัน

[แก้]

การได้แชมป์ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในครั้งนี้ ทำให้สโมสรได้แชมป์รายการใหญ่ถึงสามรายการ ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 10 วัน นับเป็นประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของสโมสรและการเป็นผู้จัดการของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ซึ่งทำให้เฟอร์กูสันได้รับการพระราชทานบรรดาศักดิ์กิตติมศักดิ์ชั้นอัศวิน[7][8] และในส่วนของประเทศไทย สาธิต กรีกุล ผู้ประกาศข่าวกีฬาของสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 3 ซึ่งเป็นแฟนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้โกนหนวดที่ไว้จนเป็นเอกลักษณ์ออกจนหมด ตามที่ได้เคยสัญญาไว้ก่อนหน้านั้นว่าหากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าสามแชมป์ได้ในฤดูกาลนี้ จะโกนหนวดทิ้ง[9]

หลังจากนั้นแล้ว แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก็ยังคงชนะเรื่อยมา จนกระทั่งในนัดที่ 10 ของพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1998–99 ได้แพ้ต่อเชลซี 5–0 ประตู ที่สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ ในกรุงลอนดอน[10] (ก่อนหน้านั้นก็ได้แพ้ต่ออาร์เซนอล ในรายการแชริตีชีลด์ 1999 2–1 ประตู[11]) ในส่วนของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาลถัดมา ก็ได้พบกับเรอัลมาดริด จากลาลิกา สเปน ในรอบรองชนะเลิศ ผลการแข่งขันปรากฏว่าในนัดแรก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเสมอกับเรอัลมาดริดไป 0–0 ประตู ที่สนามซานเตียโกเบร์นาเบว ในกรุงมาดริด ในนัดที่สอง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดแพ้ต่อเรอัลมาดริดไป 3–2 ประตู ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดของตัวเอง และในส่วนของเอฟเอคัพ ฤดูกาลถัดมา สโมสรมิได้เข้าร่วมแข่งขัน[12]

ในส่วนของบาเยิร์นมิวนิก หลังจากผิดหวังจากที่ไม่ได้แชมป์รายการนี้แล้ว ในการเข้าชิงเดเอ็ฟเบ-โพคาลกับแวร์เดอร์แบรเมิน ในวันที่ 12 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ก็ปรากฏว่าในการแข่งขัน 120 นาที ทั้งคู่เสมอกันไป 1–1 ประตู จึงต้องดวลจุดโทษตัดสินกัน ปรากฏว่าแวร์เดอร์เบรเมินยิงได้มากกว่า จึงชนะไปด้วยจำนวน 5–4 ประตู ที่สนามโอลิมปิกสเตเดียม กรุงเบอร์ลิน[13] จึงทำให้ในฤดูกาลนี้ บาเยิร์นมิวนิกได้แชมป์ไปเพียงแค่รายการเดียว

ในปี ค.ศ. 2015 ได้มีการโหวตของแฟนฟุตบอลชาวอังกฤษ ให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาลนี้ เป็นสโมสรที่มีผู้เล่นดีที่สุดนับตั้งแต่มีการก่อตั้งพรีเมียร์ลีกขึ้นมาตั้งแต่ฤดูกาล 1992–93 เป็นอันดับ 2 รองจากอาร์เซนอล ที่ได้แชมป์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2003–04 โดยที่ไม่แพ้แก่สโมสรใดเลยเป็นอันดับหนึ่ง[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Quinn, Philip (25 May 1999). "United see red as dirty tricks pitch row brews". Irish Independent. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  2. "Weather History for Barcelona, Spain – Wednesday, May 26, 1999". Weather Underground. The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ 3 July 2014.
  3. "ท๊อป 10 ทีมทริปเปิ้ลแชมป์". สยามสปอร์ต. 24 May 2010. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  4. "การตัดสินใจของเซอร์ อเล็กซ์ ถูกโหวตเป็นสุดยอดในวงการกีฬา". redarmyfc. 21 August 2013. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  5. Ferris, Ken (2004) [2001]. Manchester United in Europe: Tragedy, Destiny, History (2nd ed.). Edinburgh: Mainstream Publishing. p. 339. ISBN 1-84018-897-9.
  6. "Chapter 6 – Finals". UEFA Champions League Statistics Handbook 2012/13 (PDF). Union of European Football Associations. 2013. p. 114. สืบค้นเมื่อ 3 July 2014.
  7. "เบื้องหลังความสำเร็จทริปเปิ้ลแชมป์ปี 1999". redarmyfc. 13 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  8. "ทริปเปิ้ลแชมป์". สนุกดอตคอม. 1 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  9. "สาธิต กรีกุล (บิ๊กจ๊ะ)". ครอบครัวข่าว 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-13. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  10. "Ten-man United shot down by Gunners". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 20 September 1999. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  11. "The F.A. Charity Shield". The Times (London). 7 October 1913. p. 10.
  12. "United pull out of FA Cup". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 30 June 1999. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  13. "DFB-Pokal, 1998/1999, Finale". dfb.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 4 June 2017.
  14. "สิงห์ยังห่างไกล! คอบอลโหวตปืนไร้พ่ายสุดยอดตลอดกาล-ทริปเปิ้ลแชมป์ผีปี 99 ตามมาติดๆ". 90min. 20 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]