ข้ามไปเนื้อหา

มัสยิดอัลฮะรอม

พิกัด: 21°25′21″N 39°49′34″E / 21.42250°N 39.82611°E / 21.42250; 39.82611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์)
มัสยิดอัลฮะรอม
อาหรับ: ٱَلْمَسْجِدُ ٱلْحَرَامُ
ภาพถ่ายทางอากาศของมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
นิกายมุสลิม
หน่วยงานกำกับดูแลYasser Al-Dosari (อิหม่าม)
อับดุรเราะห์มาน อัสซุดัยส์ (อิหม่าม)
ซะอูด อัชชุร็อยม์ (อิหม่าม)
อับดุลลอฮ์ อะวาด อัลญุฮะนี (อิหม่าม)
มาฮิร อัลมุอัยกิลี (อิหม่าม)
ศอเลียะห์ บิน อับดุลลอฮ์ อัลฮุมัยด์ (อิหม่าม)
Faisal Ghazawi (อิหม่าม)
Bandar Baleela (อิหม่าม)
อะลี อะห์มัด มุลลา (หัวหน้ามุอัซซิน)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งมักกะฮ์ ฮิญาซ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย)[1]
มัสยิดอัลฮะรอมตั้งอยู่ในซาอุดีอาระเบีย
มัสยิดอัลฮะรอม
ที่ตั้งในประเทศซาอุดีอาระเบีย
ผู้บริหารรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย
พิกัดภูมิศาสตร์21°25′21″N 39°49′34″E / 21.42250°N 39.82611°E / 21.42250; 39.82611
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ2.5 ล้านคน[2]
หอคอย9
ความสูงหอคอย89 m (292 ft)
พื้นที่ทั้งหมด356,000 ตารางเมตร (88 เอเคอร์) [3]

มัสยิดอัลฮะรอม (อาหรับ: ٱَلْمَسْجِدُ ٱلْحَرَامُ, อักษรโรมัน: al-Masjid al-Ḥarām, แปลตรงตัว'มัสยิดต้องห้าม')[4] มีอีกชื่อว่า มัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์[5] เป็นมัสยิดที่ล้อมรอบกะอ์บะฮ์ในมักกะฮ์ แคว้นมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นสถานที่แสวงบุญในพิธีฮัจญ์ ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องทำอย่างน้อยหนึ่งครั้งถ้าสามารถทำได้ และในอุมเราะฮ์ที่สามารถทำในช่วงใดก็ได้ พิธีแสวงบุญทั้งสองแบบรวมการเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ในมัสยิด มัสยิดใหญ่ยังมีสถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ หินดำ, บ่อซัมซัม, มะกอมอิบรอฮีม และเนินเศาะฟาและมัรวะฮ์[6]

ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2020 มัสยิดนี้เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผ่านการบูรณะและขยายมาหลายปี[7] โดยผ่านการปกครองของเคาะลีฟะฮ์ สุลต่าน และกษัตริย์หลายพระองค์ โดยปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย ผู้ดำรงพระบรมราชอิสริยยศผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง[8]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

มีการโต้แย้งว่ามัสยิดใดเก่าแก่ที่สุด ระหว่างมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ มัสยิดอัศเศาะฮาบะฮ์ในมัสซาวา ประเทศเอริเทรีย[9] และมัสยิดกุบาอ์ในมะดีนะฮ์[10] ตามธรรมเนียมอิสลาม ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีมาก่อนศาสดามุฮัมมัด[11][12][13] โดยเผยแพร่ผ่านศาสดาหลายท่าน เช่น อิบรอฮีม[14] มุสลิมยกให้อิบรอฮีมเป็นผู้สร้างกะอ์บะฮ์ในมักกะฮ์ และภายหลังจัดตั้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมุสลิมมองว่าเป็นมัสยิดแห่งแรก[15]เท่าที่เคยมีมา[16][17][18] ในขณะที่นักวิชาการกลุ่มอื่นรายงานว่า ศาสนาอิสลามปรากฏขึ้นในช่วงชีวิตของมุฮัมมัดในคริสต์ศตวรรษที่ 7[19] และส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างมัสยิดจึงปรากฏในภายหลัง ถ้าตามกรณีนี้ มัสยิดเศาะฮาบะฮ์[20] หรือมัสยิดกุบาอ์อาจเป็นมัสยิดแรกที่สร้างขึ้นในประวัติศาสตร์อิสลาม[15]

สมัยอิบรอฮีมและอิสมาอีล

[แก้]

รายงานจากอัลกุรอาน อิบรอฮีมกับอิสมาอีล ลูกของท่าน "ได้ก่อฐานของบ้านหลังนั้น"[21] ซึ่งนักอธิบายหลายคน[โดยใคร?]ระบุเป็น กะอ์บะฮ์ หลังอิบรอฮีมสร้างกะอ์บะฮ์เสร็จ มีเทวทูตนำหินดำมาให้ท่าน ซึ่งตามธรรมเนียมระบุว่าเป็นหินที่ตกลงมาจากสวรรค์ ลงไปยังบริเวณใกล้ ๆ เนินอะบุ กุบัยส์[ต้องการอ้างอิง] นักวิชาการอิสลามเชื่อว่าหินดำเป็นสิ่งเดียวที่ยังคงเหลือจากการก่อสร้างครั้งแรก[ต้องการอ้างอิง]

หลังตั้งหินดำที่มุมตะวันออกของกะอ์บะฮ์แล้ว พระเจ้าตรัสแก่อิบรอฮีมว่า “และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำฮัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง"[22]

สมัยมุฮัมมัด

[แก้]

จนกระทั่งมุฮัมมัดยึดครองมักกะฮ์ในค.ศ.630 ท่านและอะลีทำลายรูปปั้นทั้งหมดตามที่กุรอานได้กล่าวไว้[23] เป็นจุดสิ้นสุดของพหุเทวนิยมและเริ่มการปกครองแบบเอกเทวนิยม.[24][25][26][27]

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์

[แก้]

การปรับปรุงครั้งแรกเริ่มในปีค.ศ.692 โดยอับดุลมาลิก อิบนุ มัรฺวาน[28] หลังจากศตวรรษที่ 8 เสามัสยิดถูกเปลี่ยนเป็นกระเบี้องโดยอัลวะลีดที่ 1[29][30]

ราชวงศ์ออตโตมัน

[แก้]
มักกะฮ์ในช่วงราชวงศ์ออตโตมัน ค.ศ.1850

ในปีค.ศ. 1570 สุลต่านเซลิมที่ 2 และมิมาร ซินาน ปรับปรุงมัสยิด โดยสิ่งก่อสร้างนี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

สมัยซาอุดีอาระเบีย

[แก้]

การขยายครั้งใหญ่เกิดขึ้นระหว่าง 1955 และ 1973 โดยเพิ่มหออะซานสี่หอ เปลี่ยนเพดาน และพื้นให้สวยขึ้น ในระหว่างการปรับปรุงมีหลายอย่างที่สร้างในสมัยออตโตมันถูกทำลาย

ปัจจุบัน

[แก้]

ในปี 2007 มีการขยายมัสยิดที่จะเสร็จในปี 2020 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอห์ บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูดเพื่อเพิ่มความจุกว่าสองล้านคน อย่างไรก็ตามพระองค์สวรรคตในปี 2015 หลังจากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูดได้ดำเนินโครงการต่อ[31] โดยในปี 2016 โดยมีค่าใช้จ่ายกว่าหนึ่งแสนล้านดอลลาร์[32]

การทำลายสถานที่ทางประวัติศาสตร์

[แก้]

มีข้อโต้เถียงบางส่วนว่าโครงการขยายมัสยิดอัลฮะรอมและมักกะฮ์ทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานที่สำคัญในยุคต้นของศาสนาอิสลาม อาคารสมัยโบราณหลายหลังที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี ถูกรื้อทำลายเพื่อให้พื้นที่สำหรับการขยาย ตัวอย่างบางส่วนมีดังนี้:[33][34]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Location of Masjid al-Haram". Google Maps. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 24 September 2013.
  2. "AL HARAM". makkah-madinah.accor.com.
  3. Daye, Ali (21 March 2018). "Grand Mosque Expansion Highlights Growth of Saudi Arabian Tourism Industry (6 mins)". Cornell Real Estate Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
  4. Denny, Frederick M. (9 August 1990). Kieckhefer, Richard; Bond, George D. (บ.ก.). Sainthood: Its Manifestations in World Religions. University of California Press. p. 69. ISBN 9780520071896. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2021. สืบค้นเมื่อ 18 August 2019.
  5. "Great Mosque of Mecca | History, Expansion, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
  6. อัลกุรอาน 3:97 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
  7. "Mecca crane collapse: Saudi inquiry into Grand Mosque disaster". BBC News. 12 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2019.
  8. "Is Saudi Arabia Ready for Moderate Islam? - Latest Gulf News". www.fairobserver.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-11-25.
  9. Reid, Richard J. (12 January 2012). "The Islamic Frontier in Eastern Africa". A History of Modern Africa: 1800 to the Present. John Wiley and Sons. p. 106. ISBN 978-0470658987. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
  10. Palmer, A. L. (2016-05-26). Historical Dictionary of Architecture (2 ed.). Rowman & Littlefield. pp. 185–236. ISBN 978-1442263093. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2018.
  11. Esposito, John (1998). Islam: The Straight Path (3rd ed.). Oxford University Press. pp. 9, 12. ISBN 978-0-19-511234-4.
  12. Esposito (2002b), pp. 4–5.
  13. Peters, F.E. (2003). Islam: A Guide for Jews and Christians. Princeton University Press. p. 9. ISBN 978-0-691-11553-5.
  14. Alli, Irfan (2013-02-26). 25 Prophets of Islam. eBookIt.com. ISBN 978-1456613075. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
  15. 15.0 15.1 Palmer, A. L. (2016-05-26). Historical Dictionary of Architecture (2nd ed.). Rowman & Littlefield. pp. 185–236. ISBN 978-1442263093. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2018.
  16. Michigan Consortium for Medieval and Early Modern Studies (1986). Goss, V. P.; Bornstein, C. V. (บ.ก.). The Meeting of Two Worlds: Cultural Exchange Between East and West During the Period of the Crusades. Vol. 21. Medieval Institute Publications, Western Michigan University. p. 208. ISBN 978-0918720580. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
  17. Mustafa Abu Sway. "The Holy Land, Jerusalem and Al-Aqsa Mosque in the Qur'an, Sunnah and other Islamic Literary Source" (PDF). Central Conference of American Rabbis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-28.
  18. Dyrness, W. A. (2013-05-29). Senses of Devotion: Interfaith Aesthetics in Buddhist and Muslim Communities. Vol. 7. Wipf and Stock Publishers. p. 25. ISBN 978-1620321362. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
  19. Watt, William Montgomery (2003). Islam and the Integration of Society. Psychology Press. p. 5. ISBN 978-0-415-17587-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
  20. Reid, Richard J. (12 January 2012). "The Islamic Frontier in Eastern Africa". A History of Modern Africa: 1800 to the Present. John Wiley and Sons. p. 106. ISBN 978-0470658987. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
  21. อัลกุรอาน 2:127 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
  22. "Quran 22:27". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2016. สืบค้นเมื่อ 1 October 2016.
  23. อัลกุรอาน 21:57–58
  24. Mecca: From Before Genesis Until Now, M. Lings, pg. 39, Archetype
  25. Concise Encyclopedia of Islam, C. Glasse, Kaaba, Suhail Academy
  26. Ibn Ishaq, Muhammad (1955). Ibn Ishaq's Sirat Rasul Allah – The Life of Muhammad Translated by A. Guillaume. Oxford: Oxford University Press. pp. 88–9. ISBN 9780196360331.
  27. Karen Armstrong (2002). Islam: A Short History. p. 11. ISBN 0-8129-6618-X.
  28. Guidetti, Mattia (2016). In the Shadow of the Church: The Building of Mosques in Early Medieval Syria: The Building of Mosques in Early Medieval Syria (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 113. ISBN 9789004328839. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
  29. Petersen, Andrew (2002). Dictionary of Islamic Architecture (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781134613656. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
  30. Ali, Wijdan (1999). The Arab Contribution to Islamic Art: From the Seventh to the Fifteenth Centuries (ภาษาอังกฤษ). American Univ in Cairo Press. ISBN 9789774244766. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
  31. Ambitious new architecture plan for Al-Masjid Al-Haram
  32. https://www.telegraph.co.uk/travel/lists/the-worlds-most-expensive-buildings/masjid-al-haram-mecca-saudi-arabia/
  33. Taylor, Jerome (24 September 2011). "Mecca for the Rich: Islam's holiest site turning into Vegas". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2017. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
  34. Abou-Ragheb, Laith (12 July 2005). "Dr.Sami Angawi on Wahhabi Desecration of Makkah". Center for Islamic Pluralism. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 November 2010.
  35. "Ottoman Portico Demonstrates Kurşun's Lack of Knowledge of Historical Sources". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 2020-07-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]